Page 15 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            8







                  ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ทางเคมีของปุ๋ยอินทรีย์

                      รายการวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์    pH          OC           N          P O         K O
                                                                                          2 5
                                                                                                      2
                                                     (1:1)       (%)         (%)         (%)          (%)

                   หญ้าเนเปียร์บดละเอียดหมัก         7.2        13.83       1.09         1.26        1.67
                   ร่วมกับมูลหมู รำข้าว และน้ำหมัก

                   ชีวภาพ
                  ที่มา: สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน



                  สมบัติทางเคมีของดินก่อนการทดลอง
                         การเก็บดินก่อนการทดลอง เก็บแบบรวมในแต่ละซ้ำ พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) มีค่า

                  แตกต่างกัน ในแต่ละซ้ำ คือ ในซ้ำที่ 1 มีค่าเป็นกลาง (บริเวณนี้เคยเป็นจอมปลวกมาก่อนถูกปรับพื้นที่) ส่วนใน

                  ซ้ำที่ 2 และ 3 มีค่าเป็นกรดรุนแรงมาก และเป็นกรดจัดมากตามลำดับ ส่วนอินทรียวัตถุในดิน มีค่าปานกลาง
                  เท่ากันทั้งสามซ้ำ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าต่ำมากทั้งสามซ้ำ และโพแทสเซียมที่สกัดได้ใน

                  ดินมีค่าแตกต่างกันคือ มีค่าปานกลางในซ้ำที่ 1 ส่วนในซ้ำที่ 2 และ 3 มีค่าต่ำ (ตารางที่ 3) จากข้อมูลชุดดินชุ

                  กบินทร์บุรี (Kb) พบว่า เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง (ภาคผนวก)


                  ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ดิน ก่อนการทดลอง
                    รายการวิเคราะห์ดิน     pH         OM                P O                     K O
                                                                                                 2
                                                                         2 5
                                           (1:1)      (%)        (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)   (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)

                          ซ้ำที่ 1         6.6        1.7                2                      81
                          ซ้ำที่ 2         4.1        1.7                2                      46

                          ซ้ำที่ 3         4.8        1.7                1                      34

                  ที่มา: กลุ่มวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 กรมพัฒนาที่ดิน


                  สมบัติทางเคมีของดิน หลังปลูก 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว

                         ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน จากผลวิเคราะห์ดินหลังปลูก 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยวพบว่าค่า
                  ความเป็นกรดเป็นด่างทั้งสองช่วง แต่ละตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีแนวโน้มสูงกว่า

                  แปลงควบคุม (ตารางที่ 4) สำหรับผลวิเคราะห์ดินหลังปลูก 1 เดือนในแต่ละซ้ำมีความแตกต่างกันอย่างมี
                  นัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 % โดยเฉพาะในซ้ำที่ 1 ความเป็นกรดเป็นด่างมีค่าเป็นกรด
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20