Page 6 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                 การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับ

                             การปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม



                                                      สุรินทร์  ไวยเจริญ
                  สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9                                                          กรมพัฒนาที่ดิน

                                                          บทคัดย่อ

                         จากการทดลองการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
                  (Andrographis Paniculata (Burm.f.) Nees) ในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ในชุดดินกบินทร์บุรี

                  (Kb) กลุ่มชุดดินที่ 46 (Loamy-skeletal , kaolinitic, isohyperthermic Typic Haplustalfs) วาง
                  แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 8

                  ตำรับการทดลอง ได้แก่ ตำรับการทดลองที่ 1 แปลงควบคุม ตำรับการทดลองที่ 2 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500

                  กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ตันต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 4 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา
                  250 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ อัตรา 750 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 5 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500

                  กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 6 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 750
                  กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ อัตรา 250 กิโลกรัมต่อ ตำรับการทดลองที่ 7 ถ่านชีวภาพ อัตรา 500

                  กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 8 ถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตันต่อไร่  พบว่า ผลการวิเคราะห์ดินก่อนการ

                  ทดลอง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นกรดรุนแรงถึงเป็นกลาง หลังเก็บเกี่ยวค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                  ของดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง ซึ่งแต่ละตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีแนวโน้ม

                  สูงกว่าแปลงควบคุม สำหรับปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าปานกลางไม่แตกต่างกันทั้งก่อนการทดลองและ

                  หลังเก็บเกี่ยว ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าต่ำมากไม่แตกต่างกันทั้งก่อนการทดลองและ
                  หลังเก็บเกี่ยว สำหรับปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินเพิ่มขึ้นในช่วงแรกและลดลงในช่วงหลังเก็บเกี่ยว

                  โดยในดินหลังเก็บเกี่ยวทุกตำรับการทดลองปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้มีปริมาณสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
                  ยิ่งทางสถิติกับแปลงควบคุม  แสดงว่าปุ๋ยอินทรีย์และถ่านชีวภาพช่วยเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ใน

                  ดิน แต่ไม่เพียงพอต่อฟ้าทะลายโจร ทำให้ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินเฉลี่ยหลังเก็บเกี่ยวลดลงเมื่อ

                  เทียบกับในดินก่อนการทดลองและหลังปลูก 1 เดือน สำหรับความสูงหลังปลูก 1 เดือน ในแปลงควบคุม
                  และตำรับการทดลองถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตันต่อไร่ มีค่าต่ำกว่าตำรับการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทาง

                  สถิติ และ 2 เดือน มีแนวโน้มเช่นเดียวกับความสูงหลังปลูก 1 เดือน ส่วนตอนเก็บเกี่ยวความสูงไม่แตกต่าง
                  กันทางสถิติ สำหรับผลผลิตน้ำหนักสด น้ำหนักแห้งก็ไม่แตกต่างกันทางสถิติและมีความแปรปรวนมาก ใน

                  ส่วนของปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรทั้ง 8 ตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทาง

                  สถิติ แต่ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์มีสัมพันธ์กับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน และในสภาพดินเป็น
                  ด่างการใส่ถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตันต่อไร่ ทำให้ฟ้าทะลายโจรมีอาการใบเหลืองและปริมาณสารแอนโดร-

                  กราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรลดลง



                  คำสำคัญ ถ่านชีวภาพ ปรับปรุงดิน ระบบเกษตรอินทรีย์พีจีเอส ฟ้าทะลายโจร สารแอนโดรกราโฟไลด์
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11