Page 10 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
ใช้ปุ๋ยเคมีและเพิ่มผลผลิตและคุณภาพพืช (จันจิราและคณะ, 2560)โดยการจัดทำจุดเรียนรู้การผลิตถ่านชีวภาพ
ขึ้นและอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ หมอดินและเกษตรกรต่อไป
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563
สถานที่ดำเนินการ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัด
นครสวรรค์
สภาพพื้นที่
ในบริเวณพื้นที่ทดลองเป็นชุดดินกบินทร์บุรี (Kb) กลุ่มชุดดินที่ 46 การจำแนกดิน (USDA) Loamy-
skeletal , kaolinitic, isohyperthermic Typic Haplustalfs ลักษณะสมบัติของดินเป็นดินตื้นถึงลึกปาน
กลางถึงชั้นลูกรังหนาแน่นตั้งแต่ประมาณ 30-60 เซนติเมตร จากผิวดิน ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาล
บางบริเวณอาจพบลูกรังปน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) ดินล่างเป็นดินร่วน
เหนียวปนทราย หรือดินร่วนปนดินเหนียวและมีลูกรัง สีน้ำตาลปนแดง หรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็น
กรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ( กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน, 2558) โดยมีรายละเอียด
เพิ่มเติมในภาคผนวก
อุปกรณ์และวิธีดำเนินการวิจัย
1.อุปกรณ์การทดลอง
ต้นฟ้าทะลายโจร ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากหญ้าเนเปียร์และถ่านชีวภาพจากไม้ยูคาลิปตัส
อุปกรณ์เก็บตัวอย่างดิน
อุปกรณ์วิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินในห้องปฏิบัติการ
อุปกรณ์วิเคราะห์ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจร
อุปกรณ์การผลิตถ่านชีวภาพ
เครื่องชั่ง เครื่องบดตัวอย่างพืช