Page 9 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2
ขับเคลื่อนขยายผลสู่เกษตรกร และพัฒนาเชิงอุตสาหกรรม พร้อมกับการวางนโยบาย โดยผู้กำหนดนโยบาย
ระดับต่างๆ สำหรับประเทศไทยในหลายปีที่ผ่านมาก็มีการวิจัยด้านนี้มากขึ้น กรมพัฒนาที่ดินได้มีการศึกษาวิจัย
การใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินปัญหาต่าง ๆ มากกว่า 10 โครงการ เช่น การศึกษาสมบัติของถ่านชีวภาพ
ต่อสมบัติของดินและผลผลิตพืชสมุนไพรขมิ้นชันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด (บรรเจิดลักษณ์และนวลจันทร์, 2560)
การใช้ถ่านชีวภาพปรับปรุงดินเค็มเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 (บวรและคณะ, 2558) รวมถึงการวิจัย
ในระบบเกษตรปลอดสารพิษและระบบเกษตรอินทรีย์ด้วย เช่น การใช้ถ่านไบโอชาร์ปรับปรุงดินเพื่อผลิตผัก
ระบบปลอดสารพิษและการกักเก็บคาร์บอนในดิน (ดาวยศและวิชัย, 2560) ศึกษาการใช้ไบโอชาร์ต่อการ
เปลี่ยนแปลงกิจกรรมมวลชีวภาพและสังคมของจุลินทรีย์ดินในพื้นที่ปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์ (นวลจันทร์
และคณะ, 2560) เป็นต้น
พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis Herb) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Andrographis Paniculata
(Burm.f.) Nees. อยู่ในวงศ์ Acanthaceae (วงศ์เหงือกปลาหมอ) เป็นพืชล้มลุกที่มีรสขมจัด จนได้ชื่อว่าเป็น
จ้าวแห่งความขม “ King of the Bitterness” โดยเฉพาะส่วนใบนิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพรและตำรับยา
รักษาโรคหลายชนิด (พืชเกษตร.คอม, 2557 ; วิฑูรย์และกมลศรี, 2562) ใบฟ้าทะลายโจรมีสารประกอบอยู่
หลายประเภท แต่ที่เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ สารแอนโดรกราโฟไลด์
(andrographolide) สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide) และ 14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟ
ไลด์ (14-deoxy-andrographolide) เป็นต้น เป็นตัวยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จึงเป็นเหตุผลที่ฟ้า
ทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, ;
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2562) การปลูกฟ้าทะลายโจรเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพรสามารถปลูกได้ทั้งในระบบ
เกษตรที่ใช้สารเคมีและระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พีจีเอส ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการรับรองเกษตร
อินทรีย์โดยชุมชนที่เกษตรกรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพื้นที่ (มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย, 2559) แต่การปลูกใน
ระบบเกษตรอินทรีย์ จะให้คุณภาพและปริมาณสารสกัดในพืชสมุนไพรดีกว่าและลดการปนเปื้อนจากสารเคมี
ด้วยและได้ราคาสูงกว่าระบบเกษตรที่ใช้สารเคมี ฉะนั้นการปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์โดยใช้พืชสมุนไพร
ซึ่งมีความต้องการของตลาดมากและมีมูลค่าสูง จึงน่าจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าพืชผักหรือไม้ผล
การนำถ่านชีวภาพไปใช้ในการปรับปรุงดินในพื้นที่เกษตรอินทรีย์สำหรับปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
มีความจำเป็นต้องมีการวิจัยให้ได้อัตราที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรต่อไปและมีความเป็นไปได้ที่จะขยายผล
อย่างกว้างขวาง แต่การนำถ่านชีวภาพไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรเพื่อใช้ปรับปรุงดินมีปัญหาอุปสรรคในด้าน
ถ่านชีวภาพที่จะนำไปใช้ เกษตรกรหาซื้อได้ยากและมีราคาแพง จึงได้มีแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการให้เกษตรกร
สามารถผลิตถ่านชีวภาพใช้เอง ด้วยวิธีการผลิตที่ง่าย ราคาไม่แพงและเกษตรกรทำได้จากวัสดุอินทรีย์ที่เหลือทิ้ง
ในชุมชนหรือไร่นาของเกษตรกรเอง ช่วยให้เกษตรกรกำจัดวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ปรับปรุงสมบัติดินทาง
กายภาพ เคมี และชีวภาพ (เช่น โครงสร้างดิน เพิ่มปริมาณธาตุอาหาร กิจกรรมจุลินทรีย์ในดิน) ลดต้นทุนการ