Page 8 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            1




                                                             คำนำ

                  ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินเกิดจากหลายปัจจัย การแก้ไขปัญหาก็แตกต่างกัน การปรับปรุงดินก็
                  เป็นวิธีการหนึ่ง เช่น ดินเปรี้ยวจัดใช้วัสดุปูนต่างๆ ดินเป็นกรดใช้ปูนโดโลไมท์ นอกจากนี้ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น

                  ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ก็สามารถปรับปรุงดินได้ทั่วไป และใช้กันอย่าง
                  แพร่หลาย ยังมีวัสดุต่างๆอีกหลายชนิดที่ใช้ปรับปรุงดิน ได้แก่ วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร
                  ถ่านชีวภาพ เป็นต้น
                         ถ่านชีวภาพมีการศึกษาวิจัยและการใช้ประโยชน์มากมายในต่างประเทศ ทั้งในด้านการใช้ปรับปรุงดิน

                  ด้านสิ่งแวดล้อมในการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้านใช้เป็นพลังงานความร้อน และด้านการเปลี่ยนแปลง
                  สภาพภูมิอากาศในการกักเก็บคาร์บอน สำหรับประเทศไทยในหลายปีที่ผ่านมาก็มีการวิจัยด้านนี้มากขึ้น
                  โดยเฉพาะกรมพัฒนาที่ดินได้มีการศึกษาวิจัยการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินปัญหาต่างๆ ทำให้มีแนวคิด
                  ในการวิจัยถ่านชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาที่ดินขึ้น เพื่อเผยแพร่แก่เกษตรกร นักวิชาการ ต่อไป




                                                          วัตถุประสงค์
                         1.เพื่อศึกษาอัตราที่เหมาะสมของถ่านชีวภาพที่ใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลาย

                  โจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม

                         2.เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดินหลังใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุง
                  คุณภาพดิน


                                                        การตรวจเอกสาร
                         ถ่านชีวภาพ (Biochar) เป็นวัสดุที่ประกอบด้วยคาร์บอนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ได้จากขบวนการเผา

                  แบบไม่ใช้ออกซิเจน (Pyrolysis) ของวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น เศษไม้ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่อุณหภูมิ
                  300-700 องศาเซลเซียส มีความคงทน ทำให้สลายตัวได้ยากคงสภาพอยู่ได้นาน  สามารถนำมาทำเป็นวัสดุ

                  ปรับปรุงดินได้ เพราะ มีสภาพเป็นด่าง ช่วยปรับสภาพดินกรดได้ดี  มีความพรุนสูงดูดยึดธาตุอาหารและน้ำได้

                  เนื่องจากมีรูพรุนขนาดเล็กมากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ได้จำนวนมาก นอกจากนี้ถ่านชีวภาพยังเป็นแหล่งกัก
                  เก็บคาร์บอนไว้ในดินอีกด้วย ถ่านชีวภาพมีการศึกษาวิจัยและการใช้ประโยชน์มากมายในต่างประเทศ ทั้งใน

                  ด้านการใช้ปรับปรุงดิน ด้านสิ่งแวดล้อมในการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้านใช้เป็นพลังงานความร้อน

                  และด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการกักเก็บคาร์บอน (พินิจภณ, 2560; Verheijen et al., 2010;
                  Lehmann and Joseph, 2009; Taylor, 2010 ) ในต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับถ่านชีวภาพ เพื่อ

                  นำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ โดยเฉพาะการนำมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินมานานนับสิบปีและมีองค์กรด้านถ่าน
                  ชีวภาพ “ International Biochar Initiative” (IBI) ในการสร้างเครือข่ายงานวิจัยและมาตรฐานด้านถ่าน

                  ชีวภาพ เช่น การใช้ถ่านชีวภาพในระบบการจัดการดินต่างๆ (Major, 2010) นอกจากการเผยแพร่ผลงานวิจัย

                  แล้ว Lehmann (2019) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำวิจัยและเขียนผลงานวิจัยเกี่ยวกับถ่านชีวภาพจำนวนมาก กล่าว
                  ว่า แม้มีผลงานวิจัยด้านถ่านชีวภาพมากมาย แต่การที่จะทำให้ผลงานวิจัยประสบความสำเร็จก็คือการ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13