Page 39 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองวังยาวแปลงที่ สบ. 4 จังหวัดสระบุรี : พื้นที่ดำเนินการ บ้านหนองมะกรูด หมู่ที่ 12 บ้านซับสนุ่น หมู่ที่ 9 บ้านซับขอน หมู่ที่ 12 และบ้านหนองจอก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ลุ่มน่ำสาขาแม่น้ำป่าสักตอนล่าง (รหัส 1208) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12)
P. 39
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
31
งานวิจัยที่เกี่ยวของกับของดานการปรับปรุงบํารุงดิน การอนุรักษดินและน้ํา และการแกไข
ปญหาทรัพยากรดินที่พบในพื้นที่จังหวัดสระบุรี มีดังนี้
Intaphan et al. (1997) ทําการศึกษาเกี่ยวกับระยะแถวและระยะปลูกของหญาแฝก
ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการพังทลายของดินบนพื้นที่ลาดชันที่มีความลาดชัน 10 เปอรเซ็นต
โดยทําการศึกษาในชุดดินมวกเหล็ก (Ml) ซึ่งเปนดินตื้น และมีปญหาการชะลางพังทลาย โดยเปรียบเทียบ
ระหวางการปลูกหญาแฝก และไมปลูกหญาแฝก ผลการศึกษาพบวาการปลูกหญาแฝก ชวยทําใหการ
ชะลางพังทลายของดินลดลงอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ แตระยะปลูกหญาแฝกที่แตกตางกันไมมีผลทํา
ใหการชะลางพังทลายของดินแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
ขวัญตา (2550) ศึกษาผลของการธาตุเหล็ก สังกะสี และเปลือกสับปะรด รวมกับปุย NPK
ตอการดูดใชและความเปนประโยชนของเหล็กและสังกะสีในขาวโพดหวานที่ปลูกในชุดดินตาคลี
และศึกษารูปของเหล็กตอการดูดใชและความเปนประโยชนของเหล็กในขาวโพดหวาน รวมถึงติดตาม
การเจริญเติบโตและผลผลิตของขาวโพดหวานจากแปลงปลูกขาวโพดหวานของเกษตรกรในจังหวัด
สระบุรี ผลการศึกษา พบวา การใสธาตุเหล็ก (Fe) รวมกับใสสังกะสี (Zn) และเปลือกสับปะรดอัตรา
6 กรัมตอดิน 1 กิโลกรัม รวมกับปุย NPK ทําใหขาวโพดหวานที่ปลูกในชุดดินตาคลีมีการเจริญเติบโต
ผลผลิต และปริมาณการดูดใชธาตุเหล็กและสังกะสีสูงที่สุด และการใสเหล็กทั้งในรูป
Fe(NH4)2(SO4)2.6H2O และในรูป Fe-DTPA รวมกับปุย NPK มีผลทําใหขาวโพดหวานที่ปลูกในชุดดิน
ลพบุรีมีการเจริญเติบโต และปริมาณการดูดใชเหล็กมากกวาการใสปุย NPK หรือการใสเหล็กเพียง
อยางเดียว
นัทฐา (2553) ไดศึกษาผลของการการใสปุย Zn ในรูปซิงคซัลเฟต (ZnSO4), ซิงคอีดีทีเอ
(ZnEDTA) และ ซิงคซิเตรท (Zn citrate) (อัตรา 0.5, 1, 2 และ 4 mg Zn kg soil) ตอการตอบสนอง
-1
ของขาวโพดที่ปลูกในดินเนื้อปูน ไดแก ชุดดินลพบุรี(Lb) ลํานารายณ (Ln) ชัยบาดาล (Cd) และตาคลี
(Tk) ที่มีปริมาณ Zn ที่เปนประโยชนต่ํา ในพื้นที่จังสระบุรี และลพบุรี ผลการศึกษาพบวา การใสปุย
Zn ในดินเนื้อปูนทั้ง 4 ชุดดินที่นํามาศึกษา มีผลทําใหการเจริญเติบโต ผลผลิตน้ําหนักแหง และ
ปริมาณการดูดใช Zn ของขาวโพดเพิ่มขึ้นมากกวาที่ไมไดรับการใสปุย Zn อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
อัตราการใสปุย Zn 2-4 mg Zn kg soil ทําใหผลผลิตน้ําหนักแหงของขาวโพดที่ปลูกในดินเนื้อปูน
-1
สูงที่สุด สําหรับประสิทธิภาพในการเพิ่มการเจริญเติบโต ผลผลิตน้ําหนักแหงและปริมาณการดูดใช
Zn ของขาวโพดของ จากปุย Zn ในรูป ZnSO4, ZnEDTA และ Zn citrate ไมแตกตางกัน
เรืองรอง (2553) ศึกษาผลการใสปุยเหล็กในรูปตาง ๆ ตอผลผลิตของถั่วลิสงที่ปลูกในชุดดิน
ลพบุรี ซึ่งเปนดินเนื้อปูน (calcareous soil) จากแปลงของเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี ผลการศึกษา
พบวา การใสปุยเหล็กในรูป FeEDDHA มีผลทําใหปริมาณการดูดใชเหล็กเพิ่มขึ้นอยางเดนชัด
ประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณการดูดใชเหล็กของถั่วลิสงหรือความเปนประโยชนของเหล็กในดินตอ
ถั่วลิสงเพิ่มขึ้นมากกวาการใสเหล็กในรูป FeDTPA อยางชัดเจน