Page 32 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองวังยาวแปลงที่ สบ. 4 จังหวัดสระบุรี : พื้นที่ดำเนินการ บ้านหนองมะกรูด หมู่ที่ 12 บ้านซับสนุ่น หมู่ที่ 9 บ้านซับขอน หมู่ที่ 12 และบ้านหนองจอก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ลุ่มน่ำสาขาแม่น้ำป่าสักตอนล่าง (รหัส 1208) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12)
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       24


                              4.2 การประเมินความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ (เอกสารวิชาการฉบับที่ 453)

                                     4.2.1 หลักเกณฑการประเมินความเหมาะสมของดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ
                                          การประเมินความเหมาะสมของดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ ใชวิธีประเมินตาม

                       คูมือการจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยตามเอกสารวิชาการฉบับที่
                       453 (กองสํารวจและจําแนกดิน, 2543) มีรายละเอียด ดังนี้

                                          1) ศึกษาลักษณะและสมบัติตาง ๆ ของดิน ตลอดจนสภาพแวดลอมที่ไดจาก
                       ขอมูลการสํารวจและจําแนกดินอยางละเอียด แลวนํามาจัดเปนหมวดหมูหรือเปนชั้นตามความรุนแรง
                       ของลักษณะดินและสภาพแวดลอมที่มีผลตอการเพาะปลูกพืช หรือตามความเสี่ยงตอความเสียหาย
                       เมื่อนําดินนั้นมาปลูกพืช ชั้นความเหมาะสมของดินแตละชั้นจะประกอบดวยชุดดินหลายชุด แตทั้งนี้

                       มิไดหมายความวาชั้นความเหมาะสมของดินแตละชั้นนั้นตองการการจัดการหรือการดูแลรักษาที่
                       เหมือนกันเสมอไป ชั้นความเหมาะสมของดินแตละชั้นจะมีขอจํากัดปลีกยอยลงไปอีก เรียกวา
                       ชั้นความเหมาะสมของดินยอย (subclass)

                                          2) ชั้นความเหมาะสมของดินแตละชั้นยกเวนชั้นความเหมาะสมที่ 1 จะตอง
                       ระบุลักษณะและสมบัติของดินที่มีผลตอการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบตอผลผลิตของพืชที่ปลูก
                       ลักษณะของดินที่ระบุไวในชั้นความเหมาะสมของดินสําหรับการปลูกพืชแตละชั้น เรียกวา ขอจํากัด

                       (limitation) การจําแนกความเหมาะสมของดินแตละชั้นจะตองตรวจสอบวาดินแตละชุดนั้นมีลักษณะ
                       อะไรบางที่รุนแรงที่สุดที่จะเปนอุปสรรคตอการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบตอผลผลิตของพืชก็จะตก
                       อยูในชั้นความเหมาะสมนั้น

                                          3) จําแนกชั้นความเหมาะสมยอยลงไป โดยระบุชนิดของขอจํากัดที่รุนแรง
                       ที่สุดไวตอทายชั้นความเหมาะสมของดินหลัก ชนิดของขอจํากัดหรือลักษณะของดินที่เปนอันตราย
                       หรือทําความเสียหายใหแกพืช ไดแก

                                             (1) สภาพภูมิประเทศ (topography : t)
                                             (2) เนื้อดิน (soil texture : s)
                                             (3) ชั้นดินที่มีการชะลางรุนแรง (albic horizon : b)

                                             (4) ความลึกที่พบชั้นดานแข็งหรือกอนกรวดมาก (soil depth to
                       consolidated layer or gravel : c หรือ g)
                                             (5) หินพื้นโผล (rock out crop : r)

                                             (6) กอนหินโผล (stoniness : z)
                                             (7) ความเค็มของดิน (salinity : x)
                                             (8) การระบายน้ําของดิน (drainage : d)

                                             (9) อันตรายจากการถูกน้ําทวม (flooding : f)
                                             (10) อันตรายจากน้ําแชขัง (water logging : w)
                                             (11) ความเสี่ยงตอการขาดน้ํา (risk of moisture shortage : m)

                                             (12) ความอุดมสมบูรณของดิน (nutrient status : n)
                                             (13) ปฏิกิริยาดิน (acidity : a, alkalinity : k)
                                             (14) ความลึกที่พบชั้นดินกรดกํามะถัน (depth to acid sulfate layer : j)
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37