Page 70 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 70

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        56


                                                           บทที่ 4


                                                        ผลการศึกษา

                   4.1 การประเมินเขตพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ส าหรับการปลูกยางพารา ในพื้นที่ต าบลหนองโสน

                   อ าเภอเมือง จังหวัดตราด (Zoning by Agri-Map)
                          จากการประเมินความเหมาะสมของที่ดินในการปลูกยางพารา ต าบลหนองโสน อ าเภอเมือง

                   จังหวัดตราด (ตารางที่ 18 และ ภาพที่ 9) พบว่า ต าบลหนองโสน มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูก
                   ยางพาราทั้งหมด 25,762 ไร่  และสามารถแบ่งเขตพื้นที่เหมาะสม ได้ 4 ระดับ คือ 1) พื้นที่เหมาะสมสูง
                   (S1)  2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2)  3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3)  4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N)
                          ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลางในการปลูกยางพารา (S2) ของต าบลหนองโสนนั้น กลุ่มชุด

                   ดินที่พบเป็นกลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนเขตดินชื้นได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 32 32B 34gm 34B 39gm 39gml 45I
                   45B 45BI 45C 45CI 45D 53B และ 53BI ส่วนชุดดินที่พบได้แก่ ชุดดินรือเสาะ (Ro) ชุดดินท่าแซะ (Te)

                   ชุดดินคอหงส์ (Kh) ชุดดินคลองซาก (Kc) และชุดดินตราด (Td) ทั้งนี้พบกลุ่มชุดดิน 45C ชุดดินคลองซาก
                   มีพื้นที่มากที่สุดในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลางในการปลูกยางพารา (S2) ของต าบลหนองโสน
                   จ านวน 4,874  ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 18.92 ของพื้นที่เหมาะสมต าบลทั้งหมด ลักษณะของเขตพื้นที่มี

                   ความเหมาะสมปานกลางในการปลูกยางพารา พบข้อจ ากัดในการเจริญเติบโตของยางพารา ตามคุณสมบัติ
                   ของดิน 2 ประเภทคือ  1) เป็นดินปนทราย ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ขาด

                   แคลนน้ าในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน และความอุดมสมบูรณ์ต่ า ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 32 32B  34gm  34B
                   39gm และ 39gml 2) เป็นดินตื้นถึงลูกรัง พบเศษหินหรือก้อนกรวดภายในความลึก 50 เซนติเมตร จาก

                   ผิวดิน ท าให้เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชในการหาน้ าและอาหารของรากพืช  การที่พบเศษหินหรือลูกรัง
                   ปะปนมาก ท าให้มีเนื้อดินน้อย การเกาะยึดตัวของเม็ดดินไม่ดี เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย มีความอุดม

                   สมบูรณ์ต่ าขาดอินทรียวัตถุ จึงมีความสามารถในการดูดซับน้ าและธาตุอาหารต่ า และขาดแคลนน้ าในฤดู
                   แล้ง แนวทางในการแก้ไขข้อจ ากัดของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2 ) ทั้ง 2 ประเภทคือ 1) การ
                   ปรับปรุงโครงสร้างดิน ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มปริมาณ

                   อินทรียวัตถุลงไปในดิน ท าให้ดินมีช่องว่างของน้ าและอากาศ ท าให้รากพืชชอนไชหาอาหารและน้ าได้ เพิ่ม
                   ความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารพืชและความสามารถในการอุ้มน้ า ท าให้ธาตุอาหารและน้ าอยู่ในดิน

                   ได้นานขึ้น รากพืชจึงสามารถดูดกินและเจริญเติบโตได้ดีขึ้น นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังท าให้ดินมีการเกาะ
                   ยึดตัวของเม็ดดินจึงช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ที่มีความลาดชันได้  2) การเพิ่มความอุดม

                   สมบูรณ์ในดิน ด้วยการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินจากการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อให้มีปริมาณ
                   ครบถ้วนทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองตามความต้องการของพืช

                          จากตารางที่ 18 และภาพที่ 9 พบว่าต าบลหนองโสนมีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยในการ
                   ปลูกยางพารา (S3) มากที่สุดมีเนื้อที่ 13,076 ไร่ เพราะสภาพภูมิประเทศในพื้นที่ดังกล่าว ที่เป็นพื้นที่ราบ
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75