Page 46 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        32


                          ในการเลือกคุณภาพที่ดินเพื่อใช้ในการประเมินความเหมาะสมของที่ดิน เนื่องจากคุณภาพที่ดินมี
                   ทั้งหมด 25 ชนิด ประกอบด้วย คุณลักษณะที่ดินจ านวนมาก ถ้าจะน าคุณภาพที่ดินทั้งหมดมาสู่ขบวนการ
                   ประเมิน  อาจท าให้ผลที่ได้ไม่ตรงกับความจริง  จึงมีการก าหนดเงื่อนไขในการคัดเลือกคุณภาพที่ดินว่า

                   จะต้องมีครบอย่างน้อย  3  ประการ  คือ  ประการที่หนึ่งจะต้องมีผลต่อพืชหรือประเภทการใช้ที่ดินนั้น  ๆ
                   ประการที่สอง  คือ  ค่าวิกฤตต้องพบในพื้นที่ที่จะปลูกพืชนั้น  ๆ  และประการที่สามคือการรวบรวมข้อมูล
                   สามารถปฏิบัติได้  จากเงื่อนไขการคัดเลือกคุณภาพที่ดินดังกล่าวข้างต้น  และการล าดับความส าคัญของ
                   คุณภาพที่ดิน พบว่า คุณภาพที่ดินที่สมควรน ามาใช้ประเมินส าหรับประเทศไทยมี 13 ชนิด ได้แก่

                          1) ความเข้มของแสงอาทิตย์ (u : Radiation Regime) ลักษณะของที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ค่า
                   ความยาวของช่วงแสง เพราะมีผลโดยตรงต่อการออกดอกของพืช พืชแต่ละชนิดมีความต้องการความยาว
                   ของช่วงแสงที่มีอิทธิพลต่อการออกดอกแตกต่างกันไปพืชบางชนิดต้องการช่วงแสงสั้นถึงจะออกดอก บาง

                   ชนิดต้องการช่วงแสงยาว  แต่บางชนิดแสงไม่มีอิทธิพลต่อการออกดอก  ค่าความยาวของช่วงแสงจะ
                   แตกต่างกันออกไปตามจุดที่ตั้งบนเส้นรุ้งในแต่ละช่วงเดือน
                          2)  ระบอบอุณหภูมิ  (t  :  Temperature  Regime)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่  ค่า
                   อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก  เพราะอุณหภูมิมีผลต่อการงอกของเมล็ด  การออกดอกของพืชบางชนิด  และมี
                   ส่วนสัมพันธ์กับกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

                          3)  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  (m  :  Moisture  Availability)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                   ตัวแทน  ได้แก่  ระยะเวลาการท่วมขังของน้ าในฤดูฝน  ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยในรอบปีหรือความต้องการน้ า
                   ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช  นอกจากนี้  ควรพิจารณาถึงการกระจายของน้ าฝนในแต่ละพื้นที่และ

                   ลักษณะของเนื้อดิน ซึ่งมีผลในเรื่องความจุในการอุ้มน้ าที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                          3.1) ค่าเปรียบเทียบเนื้อดินกับความจุในการอุ้มน้ า
                                  ความจุในการอุ้มน้ า      เนื้อดิน
                                         ต่ ามาก           ดินทราย (ดินทรายเนื้อหยาบ)

                                         ต่ า                ดินทรายปนร่วน (ดินทรายเนื้อละเอียด)
                                         ปานกลาง        ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย
                          3.2) ค่าเปรียบเทียบเนื้อดินกับความจุในการอุ้มน้ า
                                         ความจุในการอุ้มน้ า      เนื้อดิน

                                         สูง           ดินเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วน ดินร่วนปน
                                                       ดินเหนียว ดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย
                                                       (ดินร่วนและดินเหนียว)
                                         สูงมาก         ดินทรายแป้ง ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียว

                                                       ปนทรายแป้ง ดินร่วนปนทรายเนื้อละเอียดมาก
                                                       (ดินทรายแป้งและดินร่วนปนทรายเนื้อละเอียดมาก)
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51