Page 44 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        30


                   3.2 การประเมินความเหมาะสมของดินส าหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ
                          บัณฑิต และ ค ารณ   (2542) กล่าวว่า การประเมินความเหมาะสมของที่ดินในการปลูกพืช

                   เศรษฐกิจ ใช้หลักการประเมินความเหมาะสมที่ดินทางกายภาพ (Qualitative Land Evaluation) ตาม
                   หลักการของ FAO Framework เป็นการพิจารณาศักยภาพของหน่วยทรัพยากรที่ดินต่อการใช้ประโยชน์

                   ที่ดินประเภทต่างๆ  ในการจัดการที่แตกต่างกัน  วิธีการประเมินใช้วิธีการจับคู่  (Matching)  ระหว่าง
                   คุณภาพที่ดิน (Land Quality) และปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช (Crop Requirement) (ภาพ

                   ที่ 8)
                          การจ าแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดินเพื่อใช้ในการจัดความเหมาะสมส าหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ
                   โดยใช้หลักการของ FAO Framework ได้จ าแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดินเป็น 2 อันดับ (Order)

                   คือ อันดับที่เหมาะสม (Order S ; Suitability) และอันดับที่ไม่เหมาะสม (Order N ; Not suitability)
                   และจาก 2 อันดับที่ได้ แบ่งย่อยออกเป็น 4 ชั้น (Class) ดังนี้

                          S1 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly suitable)
                          S2 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderately suitable)
                          S3 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally suitable)
                          N หมายถึง ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (Not suitable)
                          คุณภาพที่ดิน  เป็นคุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช คุณภาพ
                   ที่ดินอาจจะประกอบด้วย คุณลักษณะที่ดินตัวเดียว หรือหลายตัวก็ได้ คุณภาพที่ดินที่น ามาประเมินส าหรับ
                   การปลูกพืชในระบบของ  FAO  Framework  ได้ก าหนดไว้ทั้งหมด  25  ชนิด ส าหรับประเทศไทยอาจ

                   น ามาใช้เพียงไม่กี่ชนิด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของข้อมูล ความแตกต่างของภูมิภาค และระดับความ
                   รุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผลต่อผลผลิต  ตลอดจนชนิดของพืช  และความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                   (Land Use Requirements) คุณภาพที่ดินทั้ง 25 ชนิด มีดังนี้
                          t : อุณหภูมิ (temperature regime)
                          t : อุณหภูมิ (temperature regime)
                          s : ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability)

                          b : ขนาดของหน่วยศักยภาพการจัดการ (Size of potential management units) c : ความ
                   เสียหายจากภูมิอากาศ (Climate hazard)
                          g : สภาวะที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด (Conditions affecting germination) r : สภาวะการ
                   หยั่งลึกของราก (Rooting condition)
                          z : สารพิษ (soil toxicities)
                          x : การมีเกลือมากเกินไป (Excess of salts)
                          d : ความเสียหายจากการแตกท าลาย (Degradation hazard) f : อันตรายจากการถูกน้ าท่วม

                   (flooding hazard)
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49