Page 30 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกผักในพื้นที่โครงการหลวง
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                        20



                   กว่า อนึ่งสภาพการปลูกในโรงเรือนก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้ผักกาดหวานจากการทดลองนี้ให้ผลผลิต

                   สูง จากลักษณะการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราต่าง ๆ ของผักกาดหวานในแง่ของน้ าหนักสดของส่วน
                   เหนือดินทั้งหมดซึ่งในการทดลองนี้ พบว่า การใส่ปุ๋ยในต ารับที่ 2 ซึ่งมีการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตรา 153.6
                   กิโลกรัม N 76.80 กิโลกรัม P O และ 76.80 กิโลกรัม K O ต่อไร่ แม้ว่าจะท าให้ผักกาดหวานมีน้ าหนักสด
                                           2 5
                                                                 2
                   ของส่วนเหนือดินมากที่สุด (4,360 กิโลกรัมต่อไร่) แต่การใส่ปุ๋ยอัตรานี้ก็ไม่ได้ท าให้ผักกาดหวานมีน้ าหนัก
                   สดของส่วนเหนือดินต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติจากการใส่ปุ๋ยในต ารับที่ 3 และในแง่ของน้ าหนักสดของ

                   ผักหลังตัดแต่ง การใส่ปุ๋ยต ารับที่ 2 ก็ให้ผลไม่ต่างจากต ารับที่ 4 5 และ 6 ซึ่งเป็นอัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน
                   ไม่เกิน 18 กิโลกรัมต่อไร่ โดยไม่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมหรือธาตุอาหารหลัก 2 อัตรานี้ประมาณ
                   5 กิโลกรัมต่อไร่

                          เมื่อพิจารณาจากปริมาณของไนโตรเจนที่สะสมในส่วนเหนือดินทั้งหมดซึ่งผลการทดลองพบว่า
                   ผักกาดหวานจากแปลงที่ไม่ได้รับการใส่ปุ๋ยเคมีหรือต ารับที่ 1  มีการสะสมไนโตรเจนในส่วนเหนือดิน
                   ทั้งหมด 5.29 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าเป็นไนโตรเจนที่ผักกาดหวานดูดใช้จากไนโตรเจนที่ได้จากการ
                   ปลดปล่อยของอินทรียวัตถุในดิน ในการทดลองนี้มีการประเมินปริมาณไนโตรเจนที่ปลดปล่อยจาก

                   อินทรียวัตถุในดินในโรงเรือน ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวงโดยอ้างอิงวิธีการของ Ankermann
                   and Large (n.d.) การประเมินพบว่าในช่วงเวลาการเพาะปลูกเป็นเวลา 30 วันมีปริมาณการปลดปล่อย
                   ไนโตรเจนจากอินทรียวัตถุมี 5.4 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งค่อนข้างใกล้เคียงกันกับปริมาณไนโตเจนที่สะสมในส่วน
                   เหนือดินของผักกาดหวานที่ปลูกโดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี จึงกล่าวได้ว่าวิธีการประเมินปริมาณไนโตรเจนที่

                   ปลดปล่อยจากอินทรียวัตถุที่ใช้ในการทดลองนี้มีความแม่นย าพอสมควร หากถือว่าผักกาดหวานที่ได้รับ
                   การใส่ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพในการดูดใช้ไนโตรเจนที่ปลดปล่อยจากอินทรียวัตถุในดินได้ไม่แตกต่างจาก
                   ผักกาดหวานที่ปลูกโดยไม่ได้รับการใส่ปุ๋ยเคมี ดังนั้นผลต่างของไนโตรเจน (N) ที่สะสมในส่วนเหนือดิน
                   ระหว่างผักกาดหวานที่ได้รับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนกับผักกาดหวานที่ไม่ได้รับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน คือ

                   ไนโตรเจนที่ผักกาดหวานได้รับจากการใส่ปุ๋ยเคมี ดังแสดงไว้ในตารางที่ 8
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35