Page 32 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกผักในพื้นที่โครงการหลวง
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
และโปแตสเซียมที่เป็นประโยชน์ได้ในดิน ดังนั้นผลต่างของฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมที่สะสมในส่วน
เหนือดินทั้งหมดของผักกาดหวานที่ได้รับจากปุ๋ยต ารับที่ 2 3 และ 6 คือ ปริมาณฟอสฟอรัสและ
โปแตสเซียมที่ผักกาดหวานได้รับจากปุ๋ยที่ใส่ลงไป
ส าหรับผักกาดหวานที่ได้รับปุ๋ยต ารับที่ 4 และ 5 มีการสะสมฟอสฟอรัสในส่วนเหนือดินทั้งหมด
มากกว่าผักกาดหวานในต ารับที่ 1 ซึ่งไม่ได้รับการใส่ปุ๋ยเคมี 0.17 และ 0.09 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยทั้งสอง
อัตราไม่มีการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ดังนั้นคาดว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนน่าจะมีผลส่งเสริมให้รากมีการเจริญเติบโต
ดีขึ้นจึงมีผลท าให้ผักกาดหวานที่ได้รับปุ๋ยต ารับที่ 4 และ 5 มีการดูดใช้ฟอสฟอรัสในดินได้สูงกว่าผักกาด
หวานที่ไม่ได้รับการใส่ปุ๋ยเคมี ซึ่งจากรายงานของ Yeshiwas et al. (2018) พบว่า ผักสลัดที่ได้รับการใส่
ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 75 และ 150 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ มีการเจริญเติบโตของรากมากกว่าผักสลัดที่ไม่ได้
ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างมีนัยส าคัญ ส าหรับผักกาดหวานที่ได้รับการใส่ปุ๋ยเคมีต ารับที่ 2 3 และ 6 แม้ว่าจะมี
การดูดใช้ฟอสฟอรัสเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับผักกาดหวานในต ารับที่ 1 แต่เมื่อประเมินประสิทธิภาพการ
ดูดใช้ฟอสฟอรัสจากปุ๋ย พบว่า ผักกาดหวานที่ได้รับการใส่ปุ๋ยเคมีต ารับที่ 2 3 และ 6 มีประสิทธิภาพการ
ดูดใช้ฟอสฟอรัสจากปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดิน 1.28 2.98 และ 8.72 เปอร์เซ็นต์ตามล าดับ และปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่สะสมในส่วนเหนือดินทั้งหมดของผักกาดหวานที่ได้รับปุ๋ยทั้ง 3 ต ารับต่ ากว่าปริมาณ
ฟอสฟอรัสทั้งหมดที่มีอยู่ในปุ๋ยจึงอาจกล่าวได้ว่าในการปลูกผักกาดหวานในโรงเรือน ณ ศูนย์พัฒนา
โครงการหลวงทุ่งหลวงซึ่งดินมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในระดับสูงมากท าให้ผักกาดหวานไม่ได้
ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสแต่อย่างใด ดังแสดงไว้ในตารางที่ 9