Page 16 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกผักในพื้นที่โครงการหลวง
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                         6


                          ต ารับที่ 5  ประเมินอัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนจากความต้องการไนโตรเจนของผักกาดหวาน
                   เมื่อให้ผลผลิตในระดับที่คาดหวังและชดเชยไนโตรเจนที่สูญเสียไปกับการชะล้าง 30  เปอร์เซ็นต์ของ

                   ปริมาณไนโตรเจนที่พืชต้องการ ส าหรับการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมพิจารณาจากค่าวิเคราะห์
                   ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดินก่อนปลูก ร่วมกับความ
                   ต้องการฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมของผักกาดหวานเมื่อให้ผลผลิตในระดับที่คาดหวังและใส่ชดเชย
                   ธาตุฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมที่สูญเสียไปกับการชะล้างของดิน 30  เปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสและ
                   โปแตสเซียมที่พืชต้องการ โดยจะใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมหากค่าวิเคราะห์ปริมาณฟอสฟอรัส

                   ที่เป็นประโยชน์และโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ต่ ากว่าปริมาณฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมที่พืช
                   ต้องการรวมกับฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมที่ต้องชดเชย
                          ต ารับที่ 6  ประเมินอัตราการใส่ปุ๋ยจากค่าวิเคราะห์ดินตามค าแนะน าของผักกินใบของกรม

                   วิชาการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร, 2548)
                          ส าหรับการทดลองในปี พ.ศ. 2558  เป็นการทดลองแบบสังเกตการณ์  (Observation  trial)
                   จ านวน 2 ต ารับการทดลอง ดังนี้
                          ต ารับที่ 1  ใส่ปุ๋ยตามวิธีการและอัตราที่เกษตรกรเคยปฏิบัติ

                          ต ารับที่ 2  ประเมินอัตราการใส่ปุ๋ยจากค่าวิเคราะห์ดินตามค าแนะน าของผักกินใบของกรม
                   วิชาการเกษตร โดยใช้ข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ดินในปี พ.ศ. 2558 ด้วยชุดตรวจดินภาคสนามของกรม
                   พัฒนาที่ดิน (LDD Test Kit)
                              2.2  ขั้นตอนการด าเนินงาน

                          การด าเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง  คือ ช่วงแรกเป็นการด าเนินงานตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 โดย
                   มีการด าเนินการในปี พ.ศ. 2556 และปี พ.ศ. 2557 ส่วนการด าเนินงานในช่วงที่ 2 เป็นการด าเนินการตาม
                   วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 โดยมีการด าเนินการในปี พ.ศ. 2558
                              2.2.1  การด าเนินงานในช่วงที่ 1 ปี พ.ศ.2556 และปี พ.ศ. 2557

                                    1)  ท าการคัดเลือกพื้นที่ท าการทดลองในพื้นที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง
                   โดยจะท าการปลูกผักกาดหวานในโรงเรือนของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ซึ่งมีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 30
                   เมตร

                                    2)    เตรียมแปลงทดลองส าหรับการทดลองในแต่ละต ารับมีขนาดกว้าง 1 เมตรยาว
                   5.5 เมตรคิดเป็นพื้นที่ 5.5 ตารางเมตรต่อแปลง รวมทั้งสิ้นจ านวน 24 แปลง
                                    3)    ด าเนินการปลูกผักกาดหวาน โดยใช้วิธีการย้ายกล้า ซึ่งต้นกล้าที่ใช้ปลูกมีอายุ
                   ประมาณ 22 วัน ก่อนปลูกมีการใส่ปุ๋ยรองพื้นซึ่งเป็นปุ๋ยหมักในอัตรา 800 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ระยะระหว่าง
                   แถว 30 เซนติเมตรและระยะระหว่างต้น 25 เซนติเมตรมีการให้น้ าด้วยระบบน้ าหยด ส าหรับการใส่ปุ๋ยใช้

                   วิธีการใส่ปุ๋ยระหว่างแถวพืช จ านวน 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่หลังการย้ายกล้าได้ 7 วัน ครั้งที่ 2 หลังการย้าย
                   กล้าได้ 15 วัน
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21