Page 17 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกผักในพื้นที่โครงการหลวง
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
4) การใส่ปุ๋ยโดยค านวณปริมาณการใส่ปุ๋ยตามต ารับการทดลองที่ก าหนดไว้ ดังนี้
ต ารับที่ 1 ควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยทุกชนิด)
ต ารับที่ 2 ใส่ปุ๋ยตามวิธีการและอัตราที่เกษตรกรเคยปฏิบัติ โดยเป็นอัตราที่เกษตรกร
โดยทั่วไปนิยมใช้ในการปลูกผักกาดหวานซึ่งการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังย้ายกล้า 7 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-0-0
อัตรา 512 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังย้ายกล้า 15 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 512
กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นอัตราปุ๋ยที่ใช้ทั้งหมด153.6-76.80-76.80 กิโลกรัม N-P O -K O ต่อไร่ โดยจะ
2 5 2
เป็นอัตราที่ใช้ในการทดลองทั้งในปี พ.ศ. 2556 และปี พ.ศ. 2557
ต ารับที่ 3 ใส่ปุ๋ยตามค าแนะน าจากคู่มือการปลูกผักบนพื้นที่สูงของส านักงานพัฒนาเกษตรที่
สูงซึ่งการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังย้ายกล้า 7 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยสูตร 15-
15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังย้ายกล้า 15 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา
177.8 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นอัตราปุ๋ยที่ใช้ทั้งหมด 38.36-26.86-41.09 กิโลกรัม N-P O -K O ต่อไร่
2 5 2
โดยจะเป็นอัตราที่ใช้ในการทดลองทั้งในปี พ.ศ. 2556 และปี พ.ศ. 2557
ต ารับที่ 4 ประเมินอัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนจากปริมาณ ไนโตรเจนจากค่าวิเคราะห์
อินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนที่ปลดปล่อยจากอินทรียวัตถุตลอดช่วงเวลาของการเพาะปลูก ความ
ต้องการไนโตรเจนของผักกาดหวานเมื่อให้ผลผลิตในระดับที่คาดหวัง โดยถือว่าพืชมีประสิทธิภาพใน
การดูดใช้ไนโตรเจนจากปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ลงไปในดิน 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและ
โปแตสเซียมประเมินจากปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดินซึ่ง
ได้จากค่าวิเคราะห์ดินในช่วงก่อนการเพาะปลูก โดยจะใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมถ้าค่าวิเคราะห์
ดินต่ ากว่าค่าวิกฤตในปริมาณที่ท าให้ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน
เพิ่มขึ้นจนถึงจุดค่าวิกฤตโดยปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าวิกฤตเท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม และโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีค่าวิกฤตเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
การประเมินการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนส าหรับการทดลองในต ารับนี้สามารถค านวณได้จากผล
วิเคราะห์ดินก่อนปลูกผักกาดหวานในปี พ.ศ. 2556 มีปริมาณอินทรียวัตถุเท่ากับ 4.57 เปอร์เซ็นต์ ดัง
แสดงไว้ในตารางที่ 1 และจากความต้องการไนโตรเจนของผักกาดหวานเมื่อให้ผลผลิตในระดับที่
คาดหวัง คือ 5,333 กิโลกรัมต่อไร่ มีไนโตรเจนในผลผลิต 10.90 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 2.41
กิโลกรัมต่อไร่ และโปแตสเซียม 16.9 กิโลกรัมต่อไร่ (ปวีณา, 2551) และสามารถประเมินปริมาณ
ไนโตรเจนที่ปลดปล่อยจากอินทรียวัตถุในดินโดยใช้ตารางภาคผนวกที่ 2 ซึ่งข้อมูลจากตารางดังกล่าว
เป็นข้อมูลที่ได้ปริมาณไนโตรเจนในช่วง 120 วัน แต่ผักกาดหวานใช้เวลาปลูกและเก็บเกี่ยวเพียง 28-
30 วัน ดังนั้นปริมาณไนโตรเจนที่ได้จากตารางดังกล่าวจะต้องหารด้วย 4 ก่อนเพื่อให้ได้ปริมาณ
ไนโตรเจนที่ปลดปล่อยจากอินทรียวัตถุในดินในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จากนั้นจึงน ามาเทียบกับ
ปริมาณไนโตรเจนในผลผลิตในระดับที่คาดหวังก็จะได้ปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่ต้องใส่