Page 13 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกผักในพื้นที่โครงการหลวง
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                         3


                   ชนิดต่าง ๆ สังเกตความเข้มของสีที่เกิดขึ้น ระดับการวิเคราะห์ของฟอสฟอรัส มี 5 ระดับ ได้แก่ ต่ ามาก ต่ า
                   ปานกลาง สูง และสูงมาก  การตรวจวัดปริมาณโปแตสเซียม ใช้หลักการสกัดสารละลายตัวอย่างดิน แล้ว

                   หยดน้ ายาชนิดต่าง ๆ สังเกตปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้น ระดับการวิเคราะห์ของโปแตสเซียม มี 5  ระดับ
                   ได้แก่ ต่ ามาก ต่ า ปานกลาง สูงและสูงมาก  การตรวจวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างในตัวอย่างดินใช้
                   หลักการเทียบสีของอินดิเคเตอร์ผสมโดยเปรียบเทียบกับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน ระดับค่าความเป็นกรดเป็น
                   ด่างที่สามารถวัดได้อยู่ในช่วง 3.0-8.5 (ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2558)
                          จากการศึกษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและการจัดการปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสมในการปลูก

                   ผักบนพื้นที่สูง พบว่า ส าหรับดินบนพื้นที่สูงที่ใช้ปลูกผักส่วนใหญ่มีความเป็นกรดจัด (pH  อยู่ในช่วง 3.8-
                   5.4) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และปริมาณโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับสูงมาก (>100
                   มิลลิกรัม P ต่อกิโลกรัมและ >  300  มิลลิกรัม K ต่อกิโลกรัม) และจากการทดลองการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่า

                   วิเคราะห์ดินเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยเคมีแบบต่าง ๆ พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยในอัตราที่ได้จากการประเมิน
                   ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินร่วมกับปริมาณธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในผลผลิตผักให้ผลผลิตไม่แตกต่างจาก
                   วิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ตามอัตราของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่าง ๆ ที่ได้
                   ท าการทดลองและอัตราเกษตรกร แต่วิธีการใส่ปุ๋ยดังกล่าวสามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 63-95

                   เปอร์เซ็นต์ (ปวีณา, 2551)    โดย Deenik  et  al.  (2006) ได้ศึกษาการจัดการปุ๋ยฟอสฟอรัสส าหรับการ
                   ปลูกกะหล่ าปลี โดยดินที่ปลูกมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ใน
                   ระดับสูง พบว่า การใส่ปุ๋ยที่มีปริมาณ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมแตกต่างกันไม่ท าให้ปริมาณ
                   ผลผลิตน้ าหนักสดของกะหล่ าปลีแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับ Ontario Ministry of Agriculture Food

                   and  Rural  Affairs  (2006)  รายงานว่า ในดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 61 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัมหรือมากกว่า ผักสลัดจะไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่เพิ่มเติมลงไป     ส าหรับดินที่มี
                   ปริมาณโปแตสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ 181  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมหรือสูงกว่า ผักสลัดก็จะไม่
                   ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมเช่นเดียวกัน  ทั้งนี้งบดุลธาตุอาหารบางส่วนจะผันแปรไปตามชนิดของ

                   ผักที่ปลูก หากปริมาณธาตุอาหารหลักที่ใส่ลงไปในดินและปุ๋ยมีมากกว่าปริมาณธาตุอาหารหลักที่พืชขน
                   ย้ายออกจากดินในรูปของผลผลิตถือว่ามีงบดุลของธาตุอาหารเป็นบวก แต่ถ้าปริมาณธาตุอาหารในผลผลิต
                   สูงกว่าที่มีอยู่ในดินและปุ๋ยถือว่ามีงบดุลธาตุอาหารเป็นลบ (เนตรดาว, 2547)
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18