Page 10 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกผักในพื้นที่โครงการหลวง
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
วิกฤตเท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีค่าวิกฤตเท่ากับ 100
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต ารับที่ 5 ประเมินอัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนจากความต้องการไนโตรเจนของ
ผักกาดหวานเมื่อให้ผลผลิตในระดับที่คาดหวังและชดเชยไนโตรเจนที่สูญเสียไปกับการชะล้าง 30
เปอร์เซ็นต์ของปริมาณไนโตรเจนที่พืชต้องการ ส าหรับการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมพิจารณา
จากค่าวิเคราะห์ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดินก่อนปลูก
ร่วมกับความต้องการฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมของผักกาดหวานเมื่อให้ผลผลิตในระดับที่คาดหวัง
และใส่ชดเชยธาตุฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมที่สูญเสียไปกับการชะล้างของดิน 30 เปอร์เซ็นต์ของ
ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมที่พืชต้องการ โดยจะใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมหากค่าวิเคราะห์
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ต่ ากว่าปริมาณฟอสฟอรัสและ
โปแตสเซียมที่พืชต้องการรวมกับฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมที่ต้องชดเชย และต ารับที่ 6 ประเมิน
อัตราการใส่ปุ๋ยจากค่าวิเคราะห์ดินตามค าแนะน าของผักกินใบของกรมวิชาการเกษตร ส าหรับการ
ทดลองในปี พ.ศ. 2558 เป็นการทดลองแบบสังเกตุการ จ านวน 2 ต ารับการทดลอง ได้แก่ ต ารับที่ 1
ใส่ปุ๋ยตามวิธีการและอัตราที่เกษตรกรเคยปฏิบัติและต ารับที่ 2 ประเมินอัตราการใส่ปุ๋ยจากค่า
วิเคราะห์ดินตามค าแนะน าของผักกินใบของกรมวิชาการเกษตร โดยใช้ข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ดิน
ด้วยชุดตรวจดินภาคสนามของกรมพัฒนาที่ดิน (LDD Test Kit) ผลจากการทดลองพบว่าแนวทางที่
เหมาะสมในการให้ค าแนะน าอัตราปุ๋ยที่ใส่คือ การใช้ผลวิเคราะห์ดินก่อนปลูกพืชร่วมกับค าแนะน าใน
การใช้ปุ๋ยของกรมวิชาการเกษตร เนื่องจากได้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเอาไว้แล้วซึ่งจะท าให้
เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิเคราะห์ด้วยชุดตรวจสอบดิน
ภาคสนามของกรมพัฒนาที่ดิน (LDD Test Kit) สามารถใช้วิเคราะห์ดินและให้ค่าวิเคราะห์ความเป็น
กรดเป็นด่าง (pH) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available P) และ โปแตสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
(Exchangeable K) ที่มีความแม่นย าในระดับที่น่าพอใจเพียงพอส าหรับการประเมินอัตราการใส่ปุ๋ย
ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมตามค าแนะน าของกรมวิชาการเกษตร แต่การวิเคราะห์ค่าอินทรียวัตถุยังมี
ความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง แต่สามารถน าผลวิเคราะห์ดินที่ได้ไปใช้ในการประเมินหาอัตราปุ๋ยเคมีได้
ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตในเรื่องของค่าปุ๋ยได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เกษตรกรได้รับ
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจดีขึ้นเพราะค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ลดลงกว่าการใส่ปุ๋ยตามที่เคยปฏิบัติมาซึ่ง
ส่วนใหญ่มักจะไม่มีหลักเกณฑ์ในการใส่ปุ๋ยและใช้ปุ๋ยในปริมาณมาก