Page 70 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 70

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       60








                       รวมถึงต้นทุนเฉลี่ยที่ต่ ากว่า ท าให้ผลตอบแทนจากการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์สูงกว่าเกษตรเคมี
                       นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของชาลิสา และกนกเนตร (2559) ที่สรุปได้ว่าเกษตรกรที่ปลูก

                       ข้าวอินทรีย์มีต้นทุนที่ต่ ากว่าเกษตรเคมีและมีผลตอบแทนที่มากกว่าเกษตรเคมี โดยพบว่ารายได้และ
                       ต้นทุนการปลูกข้าวระหว่างเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมีแตกต่างกันอย่างส าคัญทางสถิติ  สอดคล้อง

                       กับผลการศึกษาของสุดใจ (2553) ท าการศึกษาเศรษฐกิจการผลิต การตลาด พืชผักอินทรีย์
                       ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ต้นทุนในการผลิตผักอินทรีย์ต่อไร่จะประกอบด้วยต้นทุนที่เป็นเงินสด

                       17,879.15 บาท และไม่เป็นเงินสด 17,272.91 บาท รวมต้นทุนต่อไร่ต่อปี 35,152.06 บาท หักออก
                       จากผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับต่อไร่ต่อปี เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ต่อปี 22,389.61

                       บาท เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตผักปลอดสารพิษ ต้นทุนรวมต่อไร่ต่อปีจะเป็นต้นทุนที่เป็นเงินสด
                       12,639.32 บาท ต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสด 12,184.59 บาท รวมต้นทุนทั้งหมด 24,823.91 บาท หักออก
                       จากผลตอบแทนที่ได้รับต่อไร่ต่อปี 45,357.14 บาท เกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ต่อปี

                       20,533.23 บาท ซึ่งรายได้จะต่ ากว่าเกษตรกรที่ผลิตผักอินทรีย์ ถึงไร่ละ 1,856.38 บาท  สอดคล้อง
                       กับรายงานของ Nelson และคณะ (2015) ที่พบว่าพีจีเอสสามารถเพิ่มปริมาณอาหารอินทรีย์คุณภาพ

                       ปลอดภัยให้แก่สมาชิกชุมชนในราคาที่เป็นธรรมและสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดสู่ตลาดอื่นๆ  ภายใน
                       ท้องถิ่นและประเทศ  ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากราคาผลิตผลที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็น

                       ธรรมต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค  นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ณัชชา (2556)  ที่พบว่า
                       ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่ามีผลในระดับมากที่สุด ที่จะส่งผลสนับสนุนให้

                       เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาท าเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ ต้นทุนการผลิตในส่วนของปัจจัยการผลิตลดลงโดยใช้
                       ปุ๋ยอินทรีย์และชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี  เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น  ราคาผลผลิตเกษตรอินทรีย์สูงกว่า
                       ผลผลิตแบบเกษตรทั่วไป  ราคาผลผลิตมีความแน่นอน  มีตลาดรองรับสินค้าที่แน่นอน

                                    สรุปผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นไปตาม
                       สมมติฐานที่ตั้งไว้  รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 21   โดยปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรอง PGS

                       เรียงล าดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด  ได้แก่  การปลูกพืชแบบผสมผสาน (B = 0.451) รองลงมา คือ
                       การปลูกข้าว (B = 0.358) การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน (B = 0.284) การปลูกไม้
                       ผล (B = 0.247) ระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์ (B = 0.227) การเคยผ่านการรับรองมาตรฐาน

                       เกษตรอินทรีย์ที่ตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรอง  (B  =  0.190)  การปลูกสมุนไพร (B  =  0.175)
                       การปลูกพืชผัก   (B =  0.122)  การฝึกอบรมหลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน”  (B  =  0.074)

                       และการฝึกอบรมหลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS” (B = 0.011) ตามล าดับ   (ตารางที่ 22)
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75