Page 74 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 74

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       64







                                                           ข้อเสนอแนะ
                                  1. การศึกษาครั้งนี้ ข้อมูลที่ได้เป็นของกลุ่มเกษตรกรน าร่องเพียง 6 กลุ่ม  ซึ่งเป็นข้อมูล

                       เบื้องต้นที่เป็นประโยชน์น าไปใช้ในการปรับปรุงโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน
                       โดยในอนาคตจะมีการขยายผลการด าเนินงานเพิ่มเติมอีกหลายกลุ่มในหลายจังหวัด  ท าให้มีข้อมูลที่
                       สามารถท าการศึกษาวิจัยเพิ่มขึ้นอีกมาก  จึงควรมีการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม  เพื่อน าข้อมูล

                       ผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงวิธีการด าเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดินให้มี
                       ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรมากที่สุด  ส าหรับผลการศึกษาในครั้งนี้
                       สรุปเป็นประเด็นข้อเสนอแนะในการด าเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์และการด าเนินงานวิจัยด้าน
                       เกษตรอินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน  ดังนี้

                                     1.1 การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์จะต้องจัดท าโครงการระยะยาวมีความ
                       ต่อเนื่อง เพราะการพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต้องใช้ระยะเวลานาน
                       พอสมควร  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์จ าเป็นต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรที่
                       เข้าร่วมโครงการฯ อย่างใกล้ชิด เป็นพี่เลี้ยงให้ค าแนะน าทางวิชาการ โดยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการ

                       ผลิตเป็นระบบเกษตรผสมผสาน  ปรับปรุงบ ารุงดินอย่างถูกวิธี   และคอยกระตุ้นให้เกษตรกร
                       มีก าลังใจในการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ส่วนร่วมจนกระทั่งกลุ่มประสบความส าเร็จ
                                         1.2 การฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรอินทรีย์ 2  หลักสูตร คือ หลักสูตร “พื้นฐานเกษตร
                       อินทรีย์ PGS”และหลักสูตร “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐาน

                       เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม แต่มีค่าระดับอิทธิพลที่ส่งผลต่อการผ่านการรับรอง PGS ต่ ากว่าปัจจัยอื่นๆ
                       ดังนั้น  จึงควรมีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรการฝึกอบรมด้านเกษตรอินทรีย์ให้มีเนื้อหาหรือ
                       กระบวนการที่ท าให้เกษตรกรเข้าใจหลักการเกษตรอินทรีย์และกระบวนการ PGS ได้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อ

                       ท าให้เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้
                       ควรพิจารณาจัดท าหลักสูตรฝึกอบรมด้านเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีจ านวน 3 หลักสูตร
                       (เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2558 จ านวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรรอบรู้เกษตรอินทรีย์)  รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่
                       กรมพัฒนาที่ดินที่รับผิดชอบดูแลกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรมี
                       โอกาสได้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรอินทรีย์เป็นประจ าอย่างต่อเนื่องทุกปี  โดยพิจารณา

                       คัดเลือกเกษตรกรที่มีความสนใจและมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการอบรมในแต่ละหลักสูตร  เพื่อพัฒนา
                       และถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมมือกันด าเนินการจนสามารถผ่านการรับรอง
                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมได้ในที่สุด นอกจากนี้ควรพัฒนาหมอดินอาสาหรือเกษตรกรเกษตร

                       อินทรีย์ PGS  ที่มีความรู้ความสามารถด้านการท าเกษตรอินทรีย์ PGS  มาเป็นวิทยากรในการถ่ายทอด
                       ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาวิทยากรด้านเกษตรอินทรีย์ PGS ที่มีจ านวนไม่เพียงพอ
                                        1.3  สถานะการเป็นหมอดินอาสาไม่มีผลต่อการรับรอง PGS  เนื่องจากกลุ่มเกษตรกร
                       ตัวอย่างที่เริ่มต้นทดลองระบบ PGS ยังมีหมอดินอาสาเข้าร่วมทดลองจ านวนไม่มาก   ซึ่งในอนาคตจะ

                       มีหมอดินอาสาที่สนใจเข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์ PGS  เป็นจ านวนเพิ่มมากขึ้น  ดังนั้นจึงควร
                       ปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน  โดยการคัดเลือกหมอดินอาสาที่มี
                       ใจรักด้านเกษตรอินทรีย์  จัดฝึกอบรมหลักสูตรด้านเกษตรอินทรีย์และ PGS ให้กับหมอดินอาสาที่เป็น
                       เกษตรกรที่ท าการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อพัฒนาหมอดินอาสาให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79