Page 65 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 65

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       55







                              การผ่านการรับรอง PGS (y) = 2.411 + 0.284 (การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและ
                       เอกชน : X)

                              จากสมการสามารถอธิบายรายละเอียดได้ว่า การที่เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ได้มีโอกาส
                       เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  จะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนา

                       ไปสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรจะมีพี่
                       เลี้ยงคอยให้ค าแนะน าปรึกษา  ให้ความรู้ทางวิชาการด้านการท าเกษตรอินทรีย์ ให้การสนับสนุน

                       ปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์  จัดให้มีการอบรมหรือจัดเวทีสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้าง
                       เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ PGS  ระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ  ท าให้

                       เกษตรกรมีโอกาสผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้มากกว่าเกษตรกรที่ไม่มีหน่วยงานให้การ
                       สนับสนุน   ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของโสมภัทร์ (2552)  ที่มีข้อเสนอแนะ 2 ข้อ  คือ 1) จาก

                       ผลการวิจัยลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับ
                       ประถมศึกษา และมีอายุค่อนข้างมาก   ซึ่งอาจจะท าให้การยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ ค่อนข้างล าบาก

                       ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ  ควรมีการฝึกอบรมเกษตรกร โดยอาศัย
                       ความรู้  ความสามารถ และความช านาญในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการท าเกษตรอินทรีย์

                       ตลอดจนควรจัดให้เกษตรกรไปทัศนศึกษาดูงานในโครงการอื่นที่ประสบความส าเร็จ เพื่อให้เกษตรกร
                       ทราบถึงผลดีและผลเสียของโครงการ เพื่อให้เกษตรกรมีการน าไปปฏิบัติมากขึ้น 2) จากผลการศึกษา

                       การยอมรับเทคโนโลยีการท าเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่เกษตรกรจะมีการยอมรับในระดับปานกลางทุก
                       ด้าน  ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมควรให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจังในการ

                       ช่วยเหลือเกษตรกรทุกๆ ด้าน โดยต้องค านึงถึงความพร้อมและความต้องการทั้งของเกษตรกรและของ
                       ตลาด  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรอินทรีย์ยังเป็นสิ่งใหม่ซึ่งจะช่วย

                       ส่งเสริมให้เกษตรกรเน้นการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป และสอดคล้องกับเดือนเพ็ญ (2560) ที่ได้
                       กล่าวว่า สาเหตุส าคัญประการหนึ่งที่ท าให้วิถีเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยไม่เติบโตก็คือนโยบาย

                       ภาครัฐในการสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ยังขาดความสอดคล้องและต่อเนื่อง เช่น นโยบายประกันราคา
                       สินค้าเกษตรโดยการซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาด ที่ส่งผลให้เกษตรกรอินทรีย์จ านวนมากกลับไปท า

                       เกษตรเคมี รวมถึงการขาดแรงจูงใจที่จะท าให้เกษตรกรเคมีเปลี่ยนมาท าเกษตรอินทรีย์ อาทิ การขาด
                       กลไกทางการเงินที่จะสนับสนุนการท าเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง

                       “ระยะเปลี่ยนผ่าน”  ก่อนที่จะได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นการจะผลักดันให้
                       เกษตรกรประสบความส าเร็จในการท าเกษตรอินทรีย์ คือ รัฐและเอกชนต้องสนับสนุนส่งเสริมการท า

                       การเกษตรอินทรีย์ของเกษตรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ
                       วริพัสย์ (2560) ที่สรุปว่าอนาคตของเกษตรกรอินทรีย์ที่เป็นรายย่อยของประเทศไทย ภาครัฐควรมี

                       ส่วนในการสนับสนุน  ส่งเสริมในระดับนโยบายของสินค้าเกษตรอินทรีย์ ระดับชุมชน  ระดับชาติ และ
                       ระดับนานาชาติ  รวมถึงมาตรการที่ท าให้เกษตรกรรายย่อยได้รับสิทธิ์ในการเรียนรู้การปฎิบัติ และ

                       โอกาสทางการตลาดของสินค้าด้วย การสนับสนุนนี้รวมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (การส่งเสริมการตลาด
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70