Page 75 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 75

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       65







                       ด้านเกษตรอินทรีย์  และให้หมอดินอาสาเกษตรอินทรีย์ท าหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการรับรองเกษตร
                       อินทรีย์แบบมีส่วนร่วมให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์กับกรมพัฒนาที่ดิน  ทั้งนี้
                       กรมพัฒนาที่ดินควรพิจารณาก าหนดนโยบายหรือมาตรการสร้างแรงจูงใจให้กับหมอดินอาสาเกษตร
                       อินทรีย์ในการช่วยเหลืองานด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์กับกรมพัฒนาที่ดิน  รวมทั้งการสร้าง

                       เครือข่ายขยายผลการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมทั่วประเทศ
                                 2. งานวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ PGS  ยังมีไม่มาก และจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ พบว่า
                       ตัวแปรที่ผู้วิจัยเลือกมาท าการศึกษามีผลต่อการผ่านการรับรอง PGS เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังนั้น
                       ในการศึกษาครั้งต่อไปควรท าการศึกษากับตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น  การตลาด  ความรู้ความ

                       เข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการท าเกษตรอินทรีย์ ความพึงพอใจของ
                       เกษตรกรในการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการท าเกษตรอินทรีย์  ความพึงพอใจ
                       และความเชื่อมั่นต่อกระบวนการ PGS   การใช้ปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน
                       เกษตรอินทรีย์ การปฎิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์  วิธีการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                       เพื่อผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์  เป็นต้น
                                 3.  เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น ควรท าการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลด้วย
                       การสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการน าไปใช้ประโยน์ในการส่งเสริมให้

                       เกษตรกรผ่านการรับรอง PGS ได้มากขึ้นต่อไป
                                 4.  กรมฯ ควรมีนโยบายก าหนดให้มีสาขางานวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ หรือ เกษตรอินทรีย์
                       PGS โดยสนับสนุนนักวิจัยรวมกลุ่มกันระดมความคิดเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอ
                       ขอรับงบประมาณการด าเนินงานวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ PGS
                              5. การสนับสนุนกลไกทางการตลาดให้กับเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ ตามนโยบายตลาดน าการ

                       ผลิต ถือว่าเป็นสิ่งส าคัญในการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรสนใจปรับเปลี่ยนมาผลิตในระบบเกษตร
                       อินทรีย์  และท าให้เกษตรกรมีความต้องการขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้สามารถ
                       จ าหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ได้ในราคาสูงขึ้น   ดังนั้นควรน าข้อมูลเรื่องการตลาดมาศึกษาวิจัยเพื่อ

                       หาค าตอบว่าการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนมา
                       ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์หรือไม่  หรือมีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       แบบมีส่วนร่วมหรือไม่  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์น ามาใช้ในการพัฒนาโครงการเกษตรอินทรีย์
                       ของกรมพัฒนาที่ดินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


                                                         ประโยชน์ที่ได้รับ

                                 1 . ผลการวิจัยนี้ท าให้ทราบถึงปัจจัยบางส่วนที่มีผลต่อการผ่านการรับรอง PGS ซึ่งสามารถน าผล
                       การศึกษาที่ได้มาใช้ในการก าหนดแนวทางหรือวิธีการด าเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์ของ
                       กรมพัฒนาที่ดินได้ดังนี้

                                     1.1 คุณสมบัติของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์ PGS ควรท าการผลิตใน
                       ระบบเกษตรผสมผสาน  หรือมีแผนจะปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นระบบเกษตรผสมผสาน  เกษตรกรที่มี
                       ประสบการณ์ในการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ควรได้รับการพิจารณาเข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์
                       PGS  เป็นล าดับแรก  และถ้าหากเป็นผู้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ตรวจรับรองโดย
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80