Page 66 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 66

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       56







                       โอกาสเข้าถึงมาตรฐานและการประชาสัมพันธ์   ทั้งนี้การสนับสนุนให้เกษตรกรในชุมชนเข้ามามีส่วน
                       ร่วมในระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม  หรือ  การรับรองโดยมหาวิทยาลัย  หรือ

                       การรับรองโดยกลุ่ม  จะช่วยให้เกษตรกรสามารถพบกับผู้บริโภคในตลาดสินค้าอินทรีย์ระดับท้องถิ่น
                       และระดับชาติ ซึ่งผู้บริโภคมีความพึงพอใจในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

                       ที่มีความมั่นใจและเชื่อใจได้  เกษตรกรรายย่อยจึงมีโอกาสรอดและมีความยั่งยืน

                              6.3  การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต และรายได้จากการผลิตในระบบเกษตรเคมีและ
                       เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (เกษตรอินทรีย์ PGS)
                              ในการศึกษาข้อมูลการผลิตเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัย
                       แสดงข้อมูลค่าเฉลี่ยต้นทุนการผลิต และรายได้จากการผลิตในระบบเกษตรเคมี (ก่อนเข้า PGS) และ

                       เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม  (หลังเข้า PGS)  โดยแยกเป็นรายจังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุรินทร์
                       จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดล าปาง จังหวัดนครปฐม และจังหวัดยโสธร ยกเว้นจังหวัดเพชรบูรณ์
                       เนื่องจากไม่มีผู้ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม

                               ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนการผลิต (บาท/ไร่/ปี) โดยเฉลี่ยของกลุ่มเกษตรกรทั้ง 5จังหวัด
                       ก่อนที่จะเข้า PGS  (เกษตรเคมี) จะมีค่าเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 2,584.92 บาท ในขณะที่หลังเข้า PGS
                       (เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม) จะมีค่าเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 1,735.88 บาท โดยพบว่าค่าเฉลี่ยต้นทุนการ
                       ผลิตของเกษตรกรตัวอย่าง ทั้ง 5 จังหวัด   เมื่อเข้าร่วมการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม

                       แล้ว เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทุกจังหวัดมีต้นทุนการผลิตต่ ากว่าการผลิตในระบบเกษตรเคมี  (ก่อนที่จะ
                       เข้าร่วมเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม)  รายละเอียดแสดงในตารางที่ 19
                                  รายได้จากการขายผลผลิต โดยเฉลี่ยของกลุ่มเกษตรกรทั้ง 5 จังหวัด ก่อนที่จะเข้า PGS
                       (เกษตรเคมี) จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 93,675.82 บาทต่อปี ในขณะที่หลังเข้า PGS (เกษตรอินทรีย์แบบมี

                       ส่วนร่วม) จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 138,211.60 บาทต่อปี  รายละเอียดแสดงในตารางที่ 20  เมื่อเข้าร่วม
                       การผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมแล้ว เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทุกจังหวัดมีรายได้สูงกว่า
                       การผลิตในระบบเกษตรเคมี(ก่อนที่จะเข้าร่วมเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม) รายละเอียดแสดงใน
                       ตารางที่ 20

                                  เมื่อน าข้อมูลมาทดสอบสมมติฐานตามที่ตั้งไว้ คือ สมมติฐานการวิจัยที่ 5  เกษตรกรที่เข้า
                       ร่วมโครงการ มีต้นทุนการผลิตและรายได้จากการขายผลผลิตก่อน และหลังท าเกษตรอินทรีย์
                       แตกต่างกัน ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ 5  ผู้วิจัยใช้สถิติ t-test  เพื่อใช้ในการทดสอบ

                       เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างต้นทุนการผลิตและรายได้จากการขายผลผลิตก่อน และหลังท า
                       เกษตรอินทรีย์ โดยผลการศึกษามีรายละเอียดดังตารางที่ 19 และ 20
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71