Page 73 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       63







                       การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรอง   การฝึกอบรมหลักสูตร
                       “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” และการฝึกอบรมหลักสูตร “พื้นฐานเกษตรอินทรีย์ PGS” ตามล าดับ
                                 1.3 ข้อมูลการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน  มีผลต่อการผ่านการ

                       รับรอง PGS  เนื่องจากเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จะมีพี่เลี้ยงคอยให้ค าแนะน าปรึกษา  ให้ความรู้
                       ทางวิชาการด้านการท าเกษตรอินทรีย์ ให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์  ได้รับการอบรม

                       หรือประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการท าเกษตรอินทรีย์  ท าให้เกษตรกรมีโอกาสผ่านการ
                       รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้มากกว่าเกษตรกรที่ไม่มีหน่วยงานให้การสนับสนุน

                              2. ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการผ่านการรับรอง PGS    ได้แก่  1) ข้อมูลส่วนบุคคล  ประกอบด้วย
                       เพศ   อายุ  ระดับการศึกษา   สถานะการเป็นหมอดินอาสา  และขนาดพื้นที่การเกษตร  ทั้งนี้

                       เนื่องจากในการท าเกษตรอินทรีย์เพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมนั้น จะมี
                       ขั้นตอนการท าการเกษตรที่หลากหลายขั้นตอนมากกว่าการท าเกษตรทั่ว ๆ ไป เกษตรกรที่ตัดสินใจ
                       เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม จึงเป็น

                       กลุ่มคนที่มีความสนใจในการเข้าร่วมอบรมหาความรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์  ชอบที่จะ
                       ศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  รวมทั้งมีความพร้อมเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาการผลิตในระบบเกษตร

                       อินทรีย์ด้วยกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม  ดังนั้นไม่ว่าเกษตรกรจะเป็นเพศหญิงหรือชาย
                       กลุ่มอายุ  ช่วงใด การศึกษาระดับใด จะเป็นหมอดินอาสาหรือไม่  จะมีพื้นที่การเกษตรขนาดเท่าใด

                       ก็สามารถประสบความส าเร็จในการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมได้
                       หากเกษตรกรมีความสนใจ มีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมครบตามขั้นตอน

                       กระบวนการของ PGS ก็สามารถผ่านการรับรอง PGS ได้    ส าหรับชนิดพืชที่ไม่มีผลต่อการผ่านการ
                       รับรอง PGS   ได้แก่  การปลูกแตงโม  และการปลูกพืชตระกูลถั่ว  เนื่องจากการปลูกแตงโมและพืช
                       ตระกูลถั่วในระบบเกษตรอินทรีย์จ าเป็นจะต้องดูแลการปลูกเป็นพิเศษมากกว่าการปลูกในระบบเกษตร

                       เคมี  ดังนั้น หากเกษตรกรไม่มีความมุ่งมั่นท าการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ก็มีโอกาส
                       กลับไปใช้สารเคมีได้ง่าย

                              3. ต้นทุนการผลิตและรายได้ระหว่างการผลิตระบบเกษตรเคมีและระบบเกษตรอินทรีย์แบบ
                       มีส่วนร่วม (เกษตรอินทรีย์ PGS)  พบว่า ก่อนเข้าสู่ระบบ PGS  เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย
                       2,584.92 บาทต่อไร่ต่อปี มีรายได้เฉลี่ยจากการขายผลผลิตหลัก 93,675.82 บาท ต่อปี หลังเข้าสู่
                       ระบบ PGS เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1,735.88 บาทต่อไร่ต่อปี หรือลดลงเฉลี่ย ร้อยละ 32.85

                       เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 138,211.60 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.54  และเมื่อน าผลมาทดสอบ
                       ทางสถิติ พบว่า ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมต่ ากว่าต้นทุน
                       เฉลี่ยของในการผลิตระบบเกษตรเคมี ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อปีจากการขายผลผลิตของระบบเกษตร

                       อินทรีย์แบบมีส่วนร่วมสูงกว่ารายได้เฉลี่ยต่อปีจากการขายผลผลิตของระบบเกษตรเคมี
                       อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78