Page 16 - มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมในการปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่จันตอนบน ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6







                       เกษตรกรมีรายได้ จากแถบพืชอนุรักษ์ดินและน้ า เกษตรกรจ าเป็นต้องมีการปูองกันไฟ เนื่องจากต้อง
                       รักษาแถบชาไว้ แถบชานี้สามารถ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 5 เดือน (มิถุนายน–ตุลาคม) โดยอาศัยเพียง
                       น้ าฝนเท่านั้น ในระหว่างแถบชาจะปลูกพืชหลักคือ ข้าวไร่ เพื่อบริโภค นอกจากนั้นการใช้แถบชาเป็น
                       มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าแทนแถบหญ้า สามารถช่วยแก้ปัญหาการแพร่กระจายของหญ้าได้ และ

                       พบว่าระบบปลูกพืชนี้ช่วยลดปริมาณการสูญเสียดินและน้ าไหลบ่าได้ 59 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบ
                       กับระบบปลูกพืชแบบเกษตรกร ที่ไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า (นคร, 2549)
                              ข้าวไร่ หมายถึง ข้าวที่ขึ้นได้ในที่ดอน หรือพื้นที่สูงตามไหล่เขา ที่มีความลาดชัน ประมาณ
                       15–25 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีคันนาคอยเก็บกักน้ าไว้หล่อเลี้ยงต้นข้าว ในระยะที่มีการเจริญเติบโต ต้อง

                       อาศัยน้ าฝนแต่เพียงอย่างเดียว  (สถาบันวิจัยข้าว, 2532)  ข้าวไร่ (Hill  Rice  or  Upland  Rice) ชื่อ
                       สามัญ (Rice)  ชื่อตระกูล (Grammineae)  สกุล (Oryza)  ชนิด (Sativa)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Oryza
                       Sativa.  Linn. จากการวิวัฒนาการและการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดของข้าว โดยถือวิธีการปลูกข้าว
                       เป็นหลัก (type  of  rice  culture) เป็นข้าวที่เจริญเติบโตได้ในสภาพไร่ ไม่มีน้ าขัง (No  standing

                       water)  หรือ มีน้ าขังชั่วคราวนั้น มีต้นสูงปานกลาง – สูง พอสมควร (medium  to  tall) มีความสูง
                       อยู่ระหว่าง 130–150 เซนติเมตร  (กรมวิชาการเกษตร, 2535 ก) เกษตรกรที่ปลูกข้าวไรในประเทศ
                       ไทย โดยเฉพาะชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ และชาวบ้านทั่วไปบางส่วน มักจะปลูกเพื่อใช้บริโภคใน

                       ครัวเรือน แต่ละครอบครัวจะปลูกข้าวไร่ในพื้นที่เพียงเล็กน้อย ซึ่งลักษณะการปลูก เป็นการปลูกที่
                       ปล่อยทิ้งไว้ตามสภาพธรรมชาติ ขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร ผลผลิตที่ได้แต่ละปีจึงไม่แน่นอน
                       ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟูาอากาศ การปลูกข้าวไร่ไม่ต้องมีน้ าขัง อาศัยเพียงน้ าค้าง น้ าฝน และความชื้นใน
                       ดิน  ก็สามารถเจริญเติบโตออกรวงให้ผลได้  ดังนั้น จึงนับได้ว่าข้าวไร่เป็นข้าวที่ทนแล้งได้ดีกว่าข้าว
                       ประเภทอื่น การปลูกข้าวไร่ ปลูกโดยวิธีหยอดเมล็ดแห้งเพียงอย่างเดียว ข้าวไร่มีปลูกในภาคเหนือ

                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคใต้  แต่มีเนื้อที่ปลูกไม่มากนัก ข้าวไร่สามารถปลูกได้ก่อนการท า
                       นาทั่วๆ ไป คือตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน จนถึงเดือน มิถุนายน และสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน
                       สิงหาคม เป็นต้นไป ซึ่งเป็นระยะที่ข้าวใช้ในการบริโภคทั่วๆ ไปมีราคาแพง ฉะนั้นการปลูกข้าวไร่

                       นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรมีข้าวบริโภคอย่างพอเพียงแล้ว ยังสามารถท ารายได้ ให้แก่ผู้ปลูกข้าวไร่
                       ไม่แพ้พืชอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ข้าวโพด และปอ เป็นต้น (กรมวิชาการเกษตร, 2532)
                               การปลูกข้าวไร่ที่ดอนและไม่มีน้ าขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ใช้ปลูกเรียกว่า ข้าวไร่ บน
                       พื้นที่ดอนเป็นส่วนมาก เช่น พื้นที่เชิงเขา สูงๆ ต่ าๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดินและปรับระดับได้ง่ายๆ

                       เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักจะปลูกแบบหยอด โดยขั้นแรกท าการตัดหญ้าและต้นไม้
                       เล็กออก แล้วท าความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูกแล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุมเล็ก ๆ ลึก
                       ประมาณ 3 เซนติเมตร ปากหลุมมีขนาดกว้างประมาณ 1 นิ้ว หลุมนี้มีระยะห่างกันประมาณ 25 x 25
                       เซนติเมตร ระหว่างแถวและระหว่างหลุมภายในแถว ปกติจะต้องหยอดเมล็ดพันธุ์ทันที หลังจากหยอด
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21