Page 11 - มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมในการปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่จันตอนบน ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         1







                                                       หลักการและเหตุผล

                              พื้นที่ภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูง มีภูเขาสลับซับซ้อน เป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่ง
                       ด ารงชีวิตอยู่ด้วยการท าการเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ ใช้ที่ดินไม่ถูกสมรรถนะ พื้นที่ดินที่ใช้ในการ

                       เพาะปลูกพืชเสื่อมโทรม  ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้จากการ
                       เพาะปลูกลดต่ าลง การท าไร่หมุนเวียน (ปลูกข้าวไร่) เป็นระบบการปลูกพืชแบบดั้งเดิมของชาวเขา
                       ขาดการอนุรักษ์ดินและน้ า และขาดการจัดการดินและพืชที่เหมาะสม ท าให้เกิดปัญหาด้านการใช้
                       ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูง การทิ้งพื้นที่ให้ว่างเปล่า จากการบุกรุกท าลายปุาเป็นสาเหตุส าคัญที่
                       ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง (วาสุเทพ และคณะ, 2541) พื้นที่ทาง

                       ภาคเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั่วประเทศ หรือประมาณ 107
                       ล้านไร่ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่ลาดชันประมาณ 89 เปอร์เซ็นต์ (พื้นที่สูง 72 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่
                       ราบ 17 เปอร์เซ็นต์) ที่เหลือเป็นพื้นที่ลุ่ม 11 เปอร์เซ็นต์ จากปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากร พื้นที่ลุ่ม

                       และพื้นที่ดอนมีอยู่อย่างจ ากัด  ท าให้เกษตรกรต้องขยายพื้นที่ท ากินขึ้นไปสู่พื้นที่สูงเพิ่มมากขึ้น
                       มีการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ลาดชันอย่างไม่ถูกวิธี  ขาดวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม
                       ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน (นคร และคณะ, 2533)  การเพาะปลูกพืชแบบดั้งเดิมบน
                       พื้นที่ลาดชันหน้าดินจะถูกชะล้างสูงประมาณ 8-50 ตันต่อไร่ต่อปี ท าให้ดินเสื่อมโทรมและผลผลิตพืช

                       ลดลง (พิทักษ์ และคณะ, 2537) เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าจันตอนบน มีพื้นที่ 72,043 ไร่ ลักษณะพื้นที่มี
                       ความลาดชันสูงถึงสูงชันมาก 82 เปอร์เซ็นต์ ความสูงเหนือระดับน้ าทะเลปานกลางเฉลี่ย 1,200 เมตร
                       ทรัพยากรดินส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 62 ร้อยละ 99 มีอัตราการชะล้างพังทลายรุนแรงมาก การ
                       ใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ร้อยละ  51.35  พบปัญหาด้านการเกษตรโดยเฉพาะในฤดูแล้งขาด

                       น้ าเพื่อการเกษตร มีการบุกรุกพื้นที่ปุาเพื่อท าการเกษตรเพื่อการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ข้าวไร่
                       (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554)
                              ในปัจจุบันทรัพยากรดินในประเทศไทยได้เสื่อมโทรมลงไปอย่างมาก  เนื่องมาจากการใช้
                       ประโยชน์ที่ดินและมีการ จัดการดินที่ไม่เหมาะสม  ท าให้ต้องสูญเสียธาตุอาหารพืชในดินที่จ าเป็นต่อ

                       การท าเกษตรกรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความลาด
                       ชันและเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน  การท าการเกษตรบนพื้นที่ลาด ชันสูงของเกษตรกรซึ่ง
                       ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขามักใช้ระบบการเกษตรแบบดั้งเดิม คือ ฟัน ถางและเผา (Slash and Burn)

                       เป็นปัญหาส าคัญที่ท าให้พื้นที่ปุาลดน้อยลงจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยขาดการจัดการดินที่
                       เหมาะสมและเมื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่ท าไร่  ซึ่งมีลักษณะผิวดินที่โล่งเตียนไม่มีสิ่งปกคลุม  จึงมักเกิดการ
                       ไหลบ่าของหน้าผิวดิน การสูญเสียดินจาก การเซาะกร่อนของดิน  การกัดกร่อนnการชะล้างพังทลาย
                       ของดิน และกษัยการของดิน นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดการชะล้าง พังทลายแบบอื่นที่มีความเสียหาย
                       มากกว่าการสูญเสียดินตามหลักของสมการการสูญเสียดินสากล เช่น การชะล้างพังทลายแบบร่องลึก
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16