Page 18 - มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมในการปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่จันตอนบน ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         8







                       หว่าน เป็นวิธีการปลูกที่ต้องมีการเตรียมดินอย่างดี หว่านแล้วกลบเมล็ดลงไป อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 11
                       กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นไถกลบ อีกครั้ง การปลูกแบบนี้การก าจัดวัชพืชจะท าได้โดยล าบาก  ส าหรับวิธีนี้
                       ไม่แนะน าให้ใช้บนที่สูง (กรมวิชาการเกษตร, 2535 ข)
                              การชะล้างพังทลายของดิน หมายถึง การเคลื่อนย้ายของดินจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง

                       โดยเคลื่อนผ่านผิวหน้าดินซึ่งจัดเป็นชั้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และความเหมาะสมในการเพาะปลูก
                       พืชมากที่สุดซึ่งกระบวนการดังกล่าวนั้นจะส่งผลท าให้ผลผลิตของพืชที่ปลูกลดลง ส่งผลท าให้
                       ก่อให้เกิดปัญหาความยากจน การบุกรุกท าลายปุาเพื่อหาพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจและ
                       สังคมต่างๆ จึงจ าเป็นที่จะต้องมีการพัฒนามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อลดความรุนแรงของปัญหา

                       การชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่
                              ในส่วนของการอนุรักษ์ดินนั้น เป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ให้คงที่ในขณะที่มี
                       การปลูกพืช ดังนั้นหลักส าคัญในการอนุรักษ์ดินจึงเหมือนกับหลักการกสิกรรมที่ดี เช่น การใช้ที่ดิน
                       อย่างถูกต้อง ตลอดจนการไถพรวน การใช้ปุ๋ยและการจัดการน้ าภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่

                       บางครั้งจ าเป็นต้องใช้วิธีการอื่นๆ เข้ามาร่วมในระบบ เช่น การปลูกพืชคลุมดิน (Cover  cropping)
                       การปลูกพืชหมุนเวียน (Crop rotation) การไถพรวน (tillage) การใส่ปุ๋ย (fertilization) การคลุมดิน
                       (mulching) การท าแนวระดับ (contouring) การปลูกพืชสลับ (strip  cropping) การท าขั้นบันได

                       (Bench terracing) (ไชยสิทธิ์, 2531)
                              คูรับน้ ารอบเขา เป็นคูรับน้ าที่จัดท าขึ้นขวางความลาดเท มีจุดมุ่งหมายที่จะแบ่งพื้นที่ออกเป็น
                       ช่วงๆ ประมาณ 6-12 เมตร โดยขึ้นกับเปอร์เซ็นต์ของความลาดชันและความกว้างของคูรับน้ า ซึ่งแบ่ง
                       ออกได้เป็น 2 ขนาด คือ คูรับน้ าชนิดกว้าง เหมาะส าหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทน้อย มีความกว้างของ
                       ฐานคู 2 เมตร และคูรับน้ าชนิดแคบ เหมาะส าหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทมาก มีความกว้างของฐานคู

                       1.5 เมตร (กรมพัฒนาที่ดิน, ม.ป.ป.) ในส่วนของระยะห่างตามผิวดิน พบว่า ระยะของคูรับน้ ารอบเขา
                       แต่ละคูมีระยะห่างตามผิวดินผันแปรอยู่ในช่วง 12-30 เมตร ซึ่งสามารถค านวณค่าระยะตามแนวดิ่ง
                       (V.I.) ได้จาก V.I. = (S+6)/10 เมื่อ S เป็นค่าเปอร์เซ็นต์ของความลาดชัน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2534)

                              การศึกษาระยะห่างที่เหมาะสมของคูรับน้ าขอบเขาเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ าบนพื้นที่สูง ชุด
                       ดินหนองมด (Nm) อ าเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีความลาดชัน 15-25 เปอร์เซ็นต์ การ
                       เปลี่ยนแปลงระยะห่างในแนวดิ่งของคูรับน้ าขอบเขา 3.0 3.5  4.0 และ 4.5 เมตร มีผลต่อการ
                       เปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ คือ ความหนาแน่นรวมของดิน อัตราการแทรกซึมน้ าของดิน และ

                       สมบัติทางเคมี คือ อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่สกัดได้ ในด้านปริมาณ
                       และคุณภาพของผลผลิตข้าวไร่ คูรับน้ าขอบเขาที่มีระยะห่างในแนวดิ่ง 4.5 เมตร มีแนวโน้มให้ปริมาณ
                       และคุณภาพของผลผลิตข้าวไร่ สูงกว่าการปลูกข้าวไร่ที่มี ระยะห่างในแนวดิ่งของคูรับน้ าขอบเขา 3
                       เมตร 3.5 เมตร (ทนงศักดิ์ และคณะ, 2557)
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23