Page 14 - มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมในการปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่จันตอนบน ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
การตรวจเอกสาร
มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม หมายถึง มาตรการที่สามารถปูองกันการชะล้าง
พังทลายของดิน หรือการสูญเสียหน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลของการใช้มาตรการอนุรักษ์
ดินและน้ า ท าให้ดินมีความชื้นเพียงพอ และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชในดินแต่ละชนิด ใน
แต่ละพื้นที่ และเป็นมาตรการที่มีความเหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในแต่ละ
พื้นที่ด้วย มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมกับท้องถิ่น หรือเหมาะสมเฉพาะพืช เฉพาะดินก็ได้
การกระจายของฝนในประเทศไทยไม่สม่ าเสมอกล่าวคือ มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ในตอนต้นและ
กลางฤดูฝน แต่มีฝนตกชุกในปลายฤดูฝน ท าให้การเพาะปลูกโดยอาศัยน้ าฝน เกิดปัญหาทั้งการขาด
แคลนน้ าและมีน้ ามากเกินไป ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินในอัตราที่
สูง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่ตอนล่างอย่างรุนแรง
การอนุรักษ์ดินและน้ า หมายถึง การใช้ที่ดินอย่างชาญฉลาด โดยค านึงถึงการปูองกันการ
พังทลายของดิน ท าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ได้นานหรือเก็บรักษาน้ าไว้ในดินให้ดินมีความชุ่มชื้น
อยู่ได้นานแทนที่จะปล่อยให้สูญหายไป นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการปรับปรุงและการฟื้นฟูบ ารุงดิน
ต่างๆ ที่เสื่อมโทรมให้กลับน ามาใช้ประโยชน์ได้อีก นอกจากนี้งานอนุรักษ์ดินและน้ าอาจกล่าวได้ในอีก
หลายความหมาย เช่น เป็นการปูองกันมิให้ดินถูกชะล้างพังทลายเมื่อใช้ท าการเกษตร เป็นการรักษา
สภาพพื้นที่เพาะปลูกให้คงสภาพอยู่ตลอดไปไม่สูญหาย เป็นการอนุรักษ์ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อยู่
เสมอ เป็นการปรับปรุงพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร การวางแผนระบบการใช้น้ าในไร่นา หรือ
เป็นการรักษาปรับปรุงสภาพของพื้นที่ต้นน้ าล าธารปุาไม้และสภาพธรรมชาติบางอย่างให้ดีขึ้น ในส่วน
ของการอนุรักษ์ดินนั้น เป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ให้คงที่ในขณะที่มีการปลูกพืช ดังนั้น
หลักส าคัญในการอนุรักษ์ดินจึงเหมือนกับหลักการกสิกรรมที่ดี เช่น การใช้ที่ดินอย่างถูกต้อง ตลอดจน
การไถพรวน การใช้ปุ๋ยและการจัดการน้ าภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่บางครั้งจ าเป็นต้องใช้
วิธีการอื่นๆ เข้ามาร่วมในระบบ เช่น การปลูกพืชคลุมดิน (Cover cropping) การปลูกพืชหมุนเวียน
(Crop rotation) การไถพรวน (tillage) การใส่ปุ๋ย (fertilization) การคลุมดิน (mulching) การท า
แนวระดับ (contouring) การปลูกพืชสลับ (strip cropping) การท าขั้นบันได (Bench terracing)
(ไชยสิทธิ์, 2531)
คูรับน้ ารอบเขา เป็นคูรับน้ าที่จัดท าขึ้นขวางความลาดเท มีจุดมุ่งหมายที่จะแบ่งพื้นที่ออกเป็น
ช่วงๆ ประมาณ 6-12 เมตร โดยขึ้นกับเปอร์เซ็นต์ของความลาดชันและความกว้างของคูรับน้ า ซึ่งแบ่ง
ออกได้เป็น 2 ขนาด คือ คูรับน้ าชนิดกว้าง เหมาะส าหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทน้อย มีความกว้างของ
ฐานคู 2 เมตร และคูรับน้ าชนิดแคบ เหมาะส าหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทมาก มีความกว้างของฐานคู
1.5 เมตร (กรมพัฒนาที่ดิน, มปป.) ในส่วนของระยะห่างตามผิวดิน พบว่า ระยะของคูรับน้ าขอบเขา
แต่ละคูมีระยะห่างตามผิวดินผันแปรอยู่ในช่วง 12-30 เมตร ซึ่งสามารถค านวณค่าระยะตามแนวดิ่งได้