Page 17 - มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมในการปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่จันตอนบน ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         7







                       เมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วก็ใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกลงมาหรือเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน ก็จะงอก
                       และเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ าขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้อง
                       ใช้น้ าฝนเพียงอย่างเดียว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ าทันทีเมื่อสิ้นฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าว
                       ไร่จะต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน การปลูกข้าวไร่

                       ชาวนาจะต้องหมั่นก าจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกข้าวไร่ใน
                       ประเทศไทย มีจ านานน้อย และมีปลูกมากใน ภาคเหนือ และภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                       และภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก (เทพฤทธิ์, 2527)
                              ข้าวที่สูง ข้าวบนพื้นที่สูง หรือข้าวดอยมีลักษณะการปลูก 2 แบบ คือ การปลูกแบบสภาพไร่

                       หรือที่เรียกว่า ข้าวไร่ ปลูกตามไหล่เขา ไม่มีคันนาส าหรับเก็บกักน้ าในแปลงปลูก ส่วนมากมักเตรียม
                       ดินโดยการถางวัชพืช หรือพืชอื่นๆ ออกก่อนแล้วเตรียมดิน หลังจากนั้นจึงท าการปลูกข้าว พื้นที่ปลูก
                       ข้าวไร่ส่วนใหญ่มักมีความลาดชันตั้งแต่ 5–60 องศา อาศัยความชื้นในการเจริญเติบโตจากน้ าฝนเพียง
                       อย่างเดียว และอีกสภาพหนึ่งคือการปลูกในสภาพนา โดยเริ่มต้นตั้งแต่เตรียมดิน ตกกล้า ไถ คราด ท า

                       เทือก และปักด า ดังเช่นการท านาพื้นราบทั่วไป พื้นที่ปลูกจะอยู่ระหว่างหุบเขา มีการท าคันนาส าหรับ
                       กักเก็บน้ า ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนาขั้นบันได การก าหนดพื้นที่สูงนั้น จะท าการก าหนดพื้นที่ที่มี
                       ความสูงจากระดับน้ าทะเลปานกลาง (above  mean  sea  level)  ตั้งแต่ 700 เมตร ขึ้นไป ให้เป็น

                       พื้นที่สูงหรือสังเกตจากธรรมชาติ  จากการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้บนพื้นที่ดอยหรือภูเขา โดยสังเกต
                       จากไม้ปุา เช่น สัก เต็ง รัง เหียง และตึง ซึ่งพันธุ์ไม้เหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นราบ จนถึง
                       พื้นที่ที่มีความสูงประมาณ 700–800 เมตร จากระดับน้ าทะเล เหนือขึ้นไปจะมีพันธุ์ไม้ประเภทสน ซึ่ง
                       เป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว ขึ้นปะปนกับพันธุ์ไม้อื่น ๆ สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน
                       (กรมการข้าว, 2553)  การปลูกข้าวไร่บนที่สูง เกษตรกรชาวเขาท าการปลูกข้าวไร่ดั้งเดิม ได้แก่การท า

                       ไร่เลื่อนลอยมีการเคลื่อนย้ายแปลงปลูกอยู่เสมอ เพื่อแสวงหาที่ใหม่ ๆ ที่มีดินดีกว่าจะได้ไม่ต้องหาปุ๋ย
                       มาใส่ใหม่  และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาวัชพืชโรคและแมลง เกษตรกรไม่นิยมไถเตรียมดินก่อนปลูก แต่จะ
                       เริ่มโดยการตัดไม้ ถางวัชพืช แล้วท าการเผา หลังจากนั้นเมื่อฝนแรกมาถึงราวปลายเดือนเมษายนก็จะ

                       ลงมือปลูก โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรนิยมวิธีกระทุ้ง หยอดแล้วกลบเมล็ด วิธีการปลูกข้าวไร่ โดยทั่วไปมี
                       อยู่  3 แบบ ดังนี้ 1) การปลูกแบบหยอดเป็นหลุม เป็นวิธีที่ปฏิบัติกันทั่วไปในภาคเหนือ เกษตรกรจะ
                       ใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้ง หรือใช้เสียมเล็กๆ ด้ามถือเป็นไม้ กระทุ้งลึกลงไปในดินประมาณ 1–2 นิ้ว
                       พร้อมกับหยอด ท าการกลบ บนที่ลาดชันเกษตรกรจะปลูกด้านล่างขึ้นไปด้านบน เพื่อจะให้ดินที่

                       กระทุ้งด้านบนมากลบหลุมข้าวทางด้านล่างและสลับฟันปลา การปลูกใช้ระยะ 20–30 เซนติเมตร
                       อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ประมาณ 8 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 5–10 เม็ดต่อหลุม 2) การปลูกแบบโรย
                       เป็นแถว การปลูกแบบนี้จะต้องมีการไถเตรียมดิน เหมาะส าหรับที่มีพื้นราบในพื้นที่ลาดชัน การปลูก
                       แบบนี้จะล าบากมาก ระยะห่างระหว่างแถว 25–30 เซนติเมตรโรยเมล็ดแล้วกลบ 3) การปลูกแบบ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22