Page 10 - มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมในการปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่จันตอนบน ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ระยะห่างคูรับน้ าขอบเขาในแนวดิ่ง 4 เมตร มีค่าความหนาแน่นรวมของดินเฉลี่ยต่ าสุด 0.80 กรัมต่อ
ลูกบาศก์เซนติเมตร จัดอยู่ในระดับต่ า ผลความหนาแน่นรวมของดินลดลง เนื่องมาจากไม่มีการเผาตอ
ซังข้าวไร่และปล่อยให้คลุมดินจนถึงฤดูปลูกข้าวไร่ปีต่อไป บางส่วนจะย่อยสลายลงไปในดินช่วยเพิ่ม
อินทรียวัตถุให้แก่ดิน ท าให้ความหนาแน่นของดินลดลง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพิ่มสูงขึ้น
ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น และท าให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น การเปลี่ยนแปลง
ระยะห่างในแนวดิ่งของระบบอนุรักษ์ดินและน้ าแบบคูรับน้ าขอบเขามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติ
ของดินน้อยกว่าการจัดการพื้นที่ ด้านผลผลิตของข้าวไร่ การปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูงที่มีมาตรการ
อนุรักษ์ดินและน้ าสามารถใช้ระยะห่างในแนวดิ่ง 4 เมตร และระยะห่างในแนวดิ่ง 8 เมตร ค่าความสูง
ข้าวไร่โดยวัดจากโคนต้นถึงปลายรวง พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติมี ความสูงข้าวไร่ อยู่ระหว่าง
98.83-91.07 เซนติเมตร เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีของข้าวไร่ อยู่ระหว่าง 87.92-81.44 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิต
ข้าวไร่ วิธีการที่ 6 ปลูกข้าวไร่ มีแถบชาอัสสัม ที่ระยะห่างคูรับน้ าขอบเขาในแนวดิ่ง 4 เมตร (V.I.=4
ม.) มีแนวโน้มให้ผลผลิตเฉลี่ยข้าวไร่สูงสุด 302.67 กิโลกรัมต่อไร่ และวิธีการที่ 7 ปลูกข้าวไร่ มีแถบ
ชาอัสสัมที่ระยะห่างคูรับน้ าขอบเขาในแนวดิ่ง 8 เมตร (V.I.=8 ม.) มีแนวโน้มให้ผลผลิตข้าวไร่
รองลงมา 298.89 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีการที่ 1 ปลูกข้าวไร่ ไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ให้ผลผลิต
ข้าวไร่เฉลี่ยต่ าสุด 274.22 กิโลกรัมต่อไร่ ถึงแม้ว่ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าระยะห่างในแนวดิ่ง 4
เมตร จะต้องเสียพื้นที่ในการปลูกข้าวไร่ 26.76% และมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าระยะห่างในแนวดิ่ง
8 เมตร จะต้องเสียพื้นที่ในการปลูกข้าวไร่ 13.38% ผลผลิตของข้าวไร่เมื่อเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 3
ปี พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ผลผลิตข้าวไร่จะสัมพันธ์กับปริมาณน้ าฝนในแต่ละปีด้วย