Page 37 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       23


                       3. ด้านเศรษฐกิจ
                           1) จุดแข็ง (Strength)

                              (1) เป็นชุมชนที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่แล้วพืชที่ปลูก ได้แก่ ปาล์มน้ ามัน
               ยางพารา และไม้ผลผสมต่างๆ การเข้าไปส่งเสริมหรือพัฒนาด้านต่างๆ ท าได้ง่ายขึ้น
                              (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความส าคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ด้านการประกอบ
               อาชีพ การช่วยเหลือเกษตรกรด้านต่างๆการส่งเสริมการรวมกลุ่ม

                              (3) มีกลุ่มการผลิตต่างๆ อยู่แล้ว ที่สามารถพัฒนาต่อยอดให้มีความเข้มแข็งได้
                           2) จุดอ่อน (Weakness)
                              (1) พื้นที่ท าการเกษตรของเกษตรกรส่วนหนึ่งไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินท ากิน
                              (2) ฐานการผลิตสินค้าเกษตรกรรมไม่กี่ชนิด เช่น ปาล์มน้ ามัน ยางพาราหากราคาผันผวนจะ

               กระทบโดยตรงต่อเกษตรกร
                              (3) การขาดแคลนน้ าในช่วงฤดูแล้ง ท าให้พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งได้รับความเสียหาย
                              (4) เกษตรกรบางส่วนขาดองค์ความรู้ เช่น ด้านการพัฒนาทรัพยากรดิน พืช น้ า และ
               การตลาด

                              (5) ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชนขาดความรู้ด้านการผลิต การตลาด
               มาตรฐานสากล และไม่นิยมสร้างมูลค่าเพิ่ม
                              (6) ผลผลิตทางการเกษตรขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบขาดการพัฒนาอย่างครบ

               วงจร การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และการขยายตลาด การกระจายสินค้า
                           3) โอกาส (Opportunity)
                              (1)  นโยบายของรัฐบาลแก้วิกฤตทางการเมืองและการบริหารยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
               สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนบนพื้นฐานความมีคุณธรรมส่งเสริมผลประโยชน์ของรัฐ
                              (2)  ยุทธศาสตร์จังหวัดชุมพร ให้ความส าคัญกับการพัฒนาระบบตลาดและสินค้าเกษตรที่มี

               คุณภาพ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร การเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรทั้งภายในและภายนอกประเทศ
                              (3)  นโยบายของรัฐบาลในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning)  และปรับระบบ
               โครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การลดต้นทุนการเพิ่มผลผลิต การ

               บริหารจัดการและการตลาด การจัดท าเกษตรแปลงใหญ่ และศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
               (ศพก.)  ฯลฯ เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ท าให้หน่วยงานต่างๆ การจัดท าแผนงาน/โครงการที่
               สอดคล้องตามภารกิจและศักยภาพของพื้นที่ตามความต้องการของเกษตรกร
                           4) อุปสรรค/ข้อจ ากัด (Threat/Restriction)

                              (1) สภาวะการขึ้นลงของราคาผลผลิต ราคาสินค้าเกษตรไม่แน่นอนท าให้เกษตรกรไม่สามารถ
               วางแผนการผลิตได้ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่
                              (2) ปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ส่งผลกระทบต่อรายได้และต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
                       4. ด้านสังคม

                           1) จุดแข็ง (Strength)
                              (1) มีการจัดประชุมประชาคมหมู่บ้านเพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของเกษตรกร
               เป็นประจ าทุกปี
                              (2) ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการเสนอโครงการ/

               กิจกรรมในการพัฒนาท้องถิ่น
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42