Page 24 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        17


                   แอโรบิค และหากมีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะท าหน้าที่เป็นบ่อบ่ม เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ าทิ้ง
                   ก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม รายละเอียดดังนี้ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) เป็นระบบที่ใช้ก าจัด

                   สารอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นสูงโดยไม่ต้องการออกซิเจน บ่อนี้จะถูกออกแบบให้มีอัตรารับสารอินทรีย์สูง
                   มาก จนสาหร่ายและการเติมออกซิเจนที่ผิวหน้าไม่สามารถผลิตและป้อนออกซิเจนได้ทัน ท าให้เกิดสภาพ
                   ไร้ออกซิเจนละลายน้ าภายในบ่อ จึงเหมาะกับน้ าเสียที่มีสารอินทรีย์และปริมาณของแข็งสูง    เนื่องจาก
                   ของแข็งจะตกลงสู่ก้นบ่อและถูกย่อยสลายแบบแอนแอโรบิค น้ าเสียที่ผ่านการบ าบัดจากบ่อนี้จะระบาย

                   ต่อไปยังบ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) เพื่อบ าบัดต่อไป  บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond)
                   เป็นบ่อที่นิยมใช้กันมากที่สุด ภายในบ่อมีลักษณะการท างานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบนของบ่อเป็นแบบ
                   แอโรบิคได้รับออกซิเจนจากการถ่ายเทอากาศที่บริเวณผิวน้ าและจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย และ

                   ส่วนล่างของบ่ออยู่ในสภาพแอนแอโรบิค บ่อแฟคคัลเททีฟนี้โดยปกติแล้วจะรับน้ าเสียจากที่ผ่านการบ าบัด
                   ขั้นต้นมาก่อน กระบวนการบ าบัดที่เกิดขึ้นในบ่อแฟคคัลเททีฟ เรียกว่า การท าความสะอาดตัวเอง
                   สารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ าจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ประเภทที่ใช้ออกซิเจน เพื่อเป็นอาหารและส าหรับการ
                   สร้างเซลล์ใหม่และเป็นพลังงาน โดยใช้ออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายที่อยู่ในบ่อ
                   ส่วนบน ส าหรับบ่อส่วนล่างจนถึงก้นบ่อซึ่งแสงแดดส่องไม่ถึง จะมีปริมาณออกซิเจนต่ าจนเกิดสภาวะไร้

                   ออกซิเจน และมีจุลินทรีย์ประเภทไม่ใช้ออกซิเจนท าหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์และแปรสภาพเป็นก๊าซ
                   เช่นเดียวกับบ่อแอนแอโรบิค แต่ก๊าซที่ลอยขึ้นมาจะถูกออกซิไดซ์โดยออกซิเจนที่อยู่ช่วงบนของบ่อท าให้ไม่
                   เกิดกลิ่นเหม็น  บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) เป็นบ่อที่มีแบคทีเรียและสาหร่ายแขวนลอยอยู่ เป็นบ่อที่มี

                   ความลึกไม่มากนักเพื่อให้ออกซิเจนกระจายทั่วทั้งบ่อและมีสภาพเป็นแอโรบิคตลอดความลึก โดยอาศัย
                   ออกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย การเติมอากาศที่ผิวหน้า และยังสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ส่วน
                   หนึ่งโดยอาศัยแสงแดดอีกด้วย บ่อบ่ม (Maturation) มีสภาพเป็นแอโรบิคตลอดทั้งบ่อ จึงมีความลึกไม่มาก
                   และแสงแดดส่องถึงก้นบ่อ ใช้รองรับน้ าเสียที่ผ่านการบ าบัดแล้ว เพื่อฟอกน้ าทิ้งให้มีคุณภาพน้ าดีขึ้น และ

                   อาศัยแสงแดดท าลายเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับน้ าทิ้งก่อนการระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม
                          ระบบบ าบัดน้ าเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon) เป็นระบบบ าบัดน้ าเสียที่อาศัยการ
                   เติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่ม
                   ออกซิเจนในน้ าให้มีปริมาณเพียงพอส าหรับจุลินทรีย์สามารถน าไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ าเสียได้เร็ว

                   ขึ้นกว่าการปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ท าให้ระบบบ าบัดน้ าเสียแบบบ่อเติมอากาศสามารถบ าบัดน้ า
                   เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ าเสียในรูปของค่าบีโอดี ได้ร้อยละ 80-
                   95 โดยอาศัยหลักการท างานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน  โดยมีเครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจาก
                   จะท าหน้าที่เพิ่มออกซิเจนในน้ าแล้วยังท าให้เกิดการกวนผสมของน้ าในบ่อด้วย ท าให้เกิดการย่อยสลาย

                   สารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ หลักการท างานของระบบบ าบัดน้ าเสียแบบบ่อเติมอากาศ สามารถ
                   บ าบัดน้ าเสียได้ทั้งน้ าเสียจากแหล่งชุมชนที่มีความสกปรกค่อนข้างมาก และน้ าเสียจากอุตสาหกรรม โดย
                   ปกติจะออกแบบให้บ่อมีความลึกประมาณ 2-6 เมตร ระยะเวลาเก็บกักน้ าภายในบ่อเติมอากาศประมาณ

                   3-10 วัน และเครื่องเติมอากาศจะต้องออกแบบให้มีประสิทธิภาพสามารถท าให้เกิดการผสมกันของ
                   ตะกอนจุลินทรีย์ ออกซิเจนละลายในน้ าและน้ าเสีย นอกจากนี้ต้องมีบ่อบ่ม รองรับน้ าเสียจากบ่อเติม
                   อากาศเพื่อตกตะกอนและปรับสภาพน้ าทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้จะต้องควบคุมอัตราการไหล
                   ของน้ าภายในบ่อบ่มและระยะเวลาเก็บกักให้เหมาะสมไม่นานเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเจริญเติบโต
                   เพิ่มปริมาณของสาหร่ายในบ่อบ่มมากเกินไป  ส่วนประกอบของระบบบ่อเติมอากาศ มีดังนี้ บ่อเติมอากาศ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29