Page 23 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        16


                   อาจจะก าจัดปริมาณของแข็งและบีโอดีได้ราว 10 – 35 เปอร์เซ็นต์ วิธีการที่ใช้มีดังนี้   การดักด้วยตะแกรง
                   ใช้ส าหรับดักสิ่งของที่ลอยน้ าได้ เช่น เศษขยะ เศษผ้า ใบไม้ ถุงพลาสติก เป็นต้น แบ่งเป็นตะแกรงหยาบ มี

                   ช่องว่างขนาด 40 มิลลิเมตร ตะแกรงขนาดกลางมีช่องว่างขนาดเล็กกว่า 40 มิลลิเมตร และแบบละเอียด
                   มีช่องว่างขนาด 1.5-6 มิลลิเมตร โดยตะแกรงจะวางเอียงไปตามทิศทางไหลของน้ า โดยมีความเอียง
                   ประมาณ 30-60 องศา ตะแกรงจะช่วยป้องกันมิให้เครื่องสูบน้ าอุดตัน  การก าจัดกรวด-ทราย ในขั้นนี้จะ
                   ออกแบบบ่อโดยท าให้น้ ามีความเร็วอยู่ในช่วง 20-30 เซนติเมตรต่อวินาที เพื่อให้ดิน กรวด ทราย ที่น้ าพา

                   มาตกตะกอนออกไปมีเวลาเก็บกักประมาณ 1-3 นาที อาจมีการให้อากาศ เพื่อไม่ให้สารลอยอื่นตกตะกอน
                   ในถังนี้นอกจากกรวดและทราย  การตกตะกอนขั้นต้น มีลักษณะคล้ายกับบ่อก าจัดกรวด-ทราย แต่มี
                   วัตถุประสงค์เพื่อก าจัดอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าที่ลอดผ่านตะแกรงมาได้ ถังตกตะกอนเป็นถังขนาดใหญ่ที่

                   เป็นที่พักน้ าเสียอัตราการไหลจะอยู่ในช่วง 15-20 เซนติเมตรต่อวินาที และมีเวลากักพักประมาณ 2-4
                   ชั่วโมง น้ าเสียที่ไหลออกไปจึงมีตะกอนแขวนลอยเหลือน้อย โดยถังตกตะกอนที่มีความลึกประมาณ 3-5
                   เมตร ถังตกตะกอนมีบทบาทอยู่ในกระบวนการบ าบัดน้ าเสียแบบต่างๆ เกือบทุกประเภท และถือเป็น
                   หน่วยส าคัญในการก าจัดตะกอนแขวนลอยในน้ า ประสิทธิภาพปกติเท่ากับ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ
                   ของแข็งที่ตกตะกอนลงสู่ก้นถัง เรียกว่าสลัดจ์ จะถูกสูบออกไปในการตกตะกอน อาจมีการเติมสารเคมี

                   เช่น พอลิเมอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการก าจัดปริมาณของแข็งให้สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น การ
                   ก าจัดน้ ามันและไขมัน โดยทั่วไปแล้วก่อนที่น้ าเสียชุมชนจะถูกปล่อยทิ้ง อาจผ่านถังดักไขมันมาแล้วขั้นหนึ่ง
                   ยังมีอีกจ านวนมากที่ยังคงเหลืออยู่ในน้ าเสีย ถังดักไขมันและน้ ามันอาศัยหลักที่ว่าไขมันน้ ามันเบากว่าน้ า

                   จึงลอยตัวอยู่เหนือน้ า ทางออกของถังดักไขมันจึงจุ่มอยู่ใต้น้ า (ต่ ากว่าชั้นไขมันหรือน้ ามัน) และสามารถดึง
                   เฉพาะส่วนที่เป็นน้ าออกจากถังดักด้วยท่อรูปตัว T ในถังวงขอบซีเมนต์ ไขมันหรือน้ ามันจะสะสมตัวอยู่ใน
                   ถังดักและสามารถตักออกไปทิ้งได้ ถังซีเมนต์นี้เป็นถังดักไขมันขนาดเล็กที่นิยมใช้กับน้ าเสียจากการปรุง
                   อาหาร ซึ่งเป็นน้ าเสียที่มีปริมาตรต่ า ในกรณีที่น้ าเสียมีปริมาณสูงควรใช้ถังแยกน้ ามันหรือไขมันแบบที่

                   เรียกว่า API Separator น้ าเสียที่มีน้ ามันหรือไขมันละลายอยู่ไม่สามารถใช้ถังดักหรือแยกน้ ามันดังกล่าวได้
                   เนื่องจากน้ ามันจับเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ าเสีย วิธีแก้ไขคือ ต้องท าให้น้ ามันและน้ าเสียแยกตัวจากกัน โดยใช้
                   สารเคมีช่วยเสียก่อน จากนั้นจึงใช้ถังดักหรือแยกไขมันและน้ ามัน บางครั้งการแยกน้ ามันหรือไขมันอาจใช้
                   วิธีท าให้ลอยตัวได้ ในบางกรณีที่น้ าเสียมีสารพิษ เช่น โลหะหนัก และสารประกอบอินทรีย์บางชนิด อาจจะ

                   มีก าจัดสารพิษเหล่านี้ก่อนเข้าสู่ระบบชีวภาพ เช่น การปรับ pH และการบ าบัดด้วยโอโซน เป็นต้น
                          ระบบบ าบัดขั้นที่สอง (Secondary Treatment) เป็นการบ าบัดน้ าเสียที่ผ่านกระบวนการบ าบัด
                   ขั้นต้นและการบ าบัดเบื้องต้นมาแล้ว แต่ยังคงมีของแข็งแขวนลอยขนาดเล็กและสารอินทรีย์ทั้งที่ละลาย
                   และไม่ละลายในน้ าเสียเหลือค้างอยู่ โดยทั่วไปการบ าบัดขั้นที่สองหรือเรียกอีกอย่างว่าการบ าบัดทาง

                   ชีวภาพ จะอาศัยหลักการเลี้ยงจุลินทรีย์ในระบบภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
                   ในการกินสารอินทรีย์ได้รวดเร็วกว่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ าทิ้งโดยใช้
                   ถังตกตะกอน ท าให้น้ าทิ้งมีคุณภาพดีขึ้น จากนั้นจึงผ่านเข้าระบบฆ่าเชื้อโรค เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีจุลินทรีย์ที่

                   ก่อให้เกิดโรคปนเปื้อน ก่อนจะระบายน้ าทิ้งลงสู่แหล่งน้ าธรรมชาติ หรือน ากลับไปใช้ประโยชน์ การบ าบัด
                   น้ าเสียขั้นนี้สามารถก าจัดของแข็งแขวนลอยและสารอินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของบีโอดีได้มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่ง
                   กรมควบคุมมลพิษ (2556) ได้รายงานแต่ละรูปแบบ ไว้ดังนี้
                          ระบบบ าบัดน้ าเสียแบบบ่อปรับเสถียร เป็นระบบบ าบัดน้ าเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบ าบัด
                   สารอินทรีย์ในน้ าเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการท างานได้ 3 แบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค บ่อแฟคคัลเททีฟ บ่อ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28