Page 27 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
ครั้งที่ 1 ใส่ในช่วงเตรียมดิน รดให้ทั่วแปลง หมักฟางไว้ 10-15 วัน แล้วไถดะ ไถ
แปร ท าเทือกเตรียมดินต่อไป
ครั้งที่ 2 ใส่ในช่วงข้าวเจริญเติบโต เมื่อข้าวมีอายุ 30 วัน รดให้ทั่วแปลงนา
ครั้งที่ 3 ใส่ในช่วงข้าวเจริญเติบโต เมื่อข้าวมีอายุ 50 วัน รดให้ทั่วแปลงนา
ครั้งที่ 4 ใส่ในช่วงข้าวเจริญเติบโต เมื่อข้าวมีอายุ 60 วัน รดให้ทั่วแปลงนา
2.2.6 การผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
ส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตร 3 ปริมาณ 100 กิโลกรัม ดังนี้
1. มูลวัว จ านวน 25 กิโลกรัม
2. มูลไก่ล้วน จ านวน 35 กิโลกรัม
3. ร็อคฟอสเฟต จ านวน 20 กิโลกรัม
4. ร าละเอียด จ านวน 10 กิโลกรัม
5. กากเมล็ดถั่วเหลือง จ านวน 10 กิโลกรัม
6. สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จ านวน 1 ซอง
7. สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อแล้ว จ านวน 26-30 ลิตร
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มี 2 ขั้นตอน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)
1) การขยายเชื้อสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 : โดยเจือจางกากน้ าตาล ต่อ น้ า อัตราส่วนกากน้ าตาล
5 กิโลกรัม ต่อ น้ า 50 ลิตร ใส่เร่งซุปเปอร์ พด.2 จ านวน 1 ซอง คนให้เข้ากัน และปิดฝาตั้งไว้ในที่ร่ม
โดยขยายเชื้อเป็นเวลา 3 วัน
2) การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง : โดยน าวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน น าสารเร่งซุปเปอร์
พด.1 จ านวน 1 ซอง ใส่ลงในสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อแล้ว จ านวน 26-30 ลิตร คน 10-15 นาที
เทลงในวัตถุดิบโดยคลุกเคล้าให้ทั่ววัตถุดิบอย่างสม่ าเสมอ ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้มีความสูง
20-30 เซนติเมตร และใช้วัสดุคลุมเพื่อรักษาความชื้น ในระหว่างการหมักจะสังเกตเห็นเชื้อจุลินทรีย์เจริญ
ในกองปุ๋ยและอุณหภูมิจะสูงขึ้น 45-55 องศาเซลเซียส หลังจากการหมักประมาณ 3 วันกองปุ๋ยไว้จน
กระทั่งอุณหภูมิลดลงเท่ากับภายนอกกองใช้เวลาประมาณ 9-12 วัน ใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และสารเร่ง
พด.9 อย่างละ 1 ซองคลุกเคล้าให้ทั่วกองและหมักไว้เป็นเวลา 3 วัน จึงน าไปใช้ได้
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตร 3 : ในต ารับที่ 3 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตราตามค าแนะน า
จากการค านวณปริมาณธาตุอาหารให้เทียบเท่าอัตราปุ๋ยเคมีที่แนะน า โดยใช้ไนโตรเจนเป็นหลัก ปริมาณ
ธาตุอาหารที่ต้องใช้ คือ 6 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ 2 กิโลกรัมฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อไร่ และ 4
กิโลกรัมโพแทสเซียมที่ละลายน้ าได้ต่อไร่ จากการวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ค านวณให้ได้ธาตุ
ไนโตรเจน เท่ากับ 6 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ พบว่าต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในปีที่ 1 2 และ 3 เท่ากับ
322, 215 และ 248 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ โดยใส่ในเทือกก่อนปักด ากล้า 1 วัน