Page 26 - การเปรียบเทียบชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวสังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จังหวัดพัทลุง
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
15
2.2 ขั้นตอนด าเนินการ
2.2.1 คัดเลือกพื้นที่ทดลองเป็นแปลงนาของเกษตรกรในกลุ่มชุดดินที่ 6 ในพื้นที่หมู่ที่ 6
บ้านหน้าควน ต าบลตะแพน อ าเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
2.2.2 กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 จัดท ารายละเอียด
สภาพพื้นที่ (Site Characterization)
2.2.3 เตรียมแปลงย่อยและปั้นคันนาขนาดกว้าง 4X4 เมตร จ านวน 20 แปลงย่อย
ระยะห่างระหว่างแถวมีร่องน้ ากั้น 1 เมตร เพื่อความสะดวกในการระบายน้ าเข้าแปลง ปั้นคันนาขนาด
กว้าง 50 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร รวมขนาดพื้นที่แปลงทดลอง 17x23 เมตร เท่ากับ 391 ตาราง
เมตร หรือเท่ากับ 0.24 ไร่ (ภาพที่ 3)
2.2.4 เก็บตัวอย่างดิน ที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร จ านวน 4 ครั้ง คือครั้งที่ 1
ก่อนด าเนินการทดลอง ครั้งที่ 2 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตปีที่ 1 ครั้งที่ 3 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตปีที่ 2 และครั้งที่
4 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตปีที่ 3 แต่ละต ารับเก็บดิน จ านวน 5 ตัวอย่าง รวมเก็บดิน 20 ตัวอย่างต่อครั้ง ใช้
วิธีการเก็บแบบ composite sample ขนาดแปลง 4x4 ตารางเมตรต่อแปลงย่อย เก็บตัวอย่างดินแต่ละ
จุดโดยใช้จอบถากหญ้าและกวาดเศษฟางออกและขุดดินเป็นหลุมรูปลิ่มลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ใช้
เสียมแซะดินด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 เซนติเมตร น าตัวอย่างดินแต่ละจุดมาคลุกเคล้า
รวมกันพร้อมแผ่ให้เป็นรูปวงกลมแล้วแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่ากัน เก็บตัวอย่างดินเพียง 2 ส่วนที่อยู่ตรง
ข้ามกัน น้ าหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ใส่ถุงพลาสติกใสที่สะอาด รัดปากถุงให้แน่นด้วยยาง น าตัวอย่างดิน
ส่งวิเคราะห์ที่ฝ่ายวิเคราะห์ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 12
2.2.5 การผลิตและการใช้น้ าหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2
วัสดุในการท า : ผลิตน้ าหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จ านวน 50 ลิตร
ส่วนประกอบในการผลิตน้ าหมักชีวภาพ คือ
1. สับปะรด เศษปลา รวม 40 กิโลกรัม
2. กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม
3. น้ า 10 ลิตร
4. สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จ านวน 1 ซอง
วิธีการท า : สับสับปะรด เศษปลา ให้เป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับกากน้ าตาลใส่ลงในถังหมัก
ขนาด 50 ลิตร น าสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จ านวน 1 ซอง ผสมในน้ า 10 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
จากนั้นเทสารละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ลงในถังหมัก คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ปิดฝาถังหมักไม่
ต้องสนิทและตั้งไว้ในที่ร่ม ใช้เวลาหมัก 20 วัน ซึ่งในระหว่างการหมักคนหรือกวน 1-2 ครั้งต่อวัน เพื่อ
ระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และท าให้ส่วนผสมคลุกเคล้ากันได้ดียิ่งขึ้น
วิธีการใช้น้ าหมักชีวภาพ ซุปเปอร์ พด.2 : โดยวิธีการเทลงแปลง อัตรา 20 ลิตรต่อไร่
ตลอดช่วงฤดูการปลูกข้าว โดยแบ่งใส่จ านวน 4 ครั้ง ครั้งละ 5 ลิตรต่อไร่ ผสมกับน้ า 100 ลิตร (ส านัก
เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551) ดังนี้