Page 50 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        37



                                มนต์ระวี และคณะ (2557)     ได้ศึกษาผลของปุ๋ยชีวภาพและน้ าหมักชีวภาพต่อการ
                   เจริญเติบโต ผลผลิตคุณภาพกล้วยหอมทองอินทรีย์เพื่อการส่งออก ในกลุ่มชุดดินที่ 7 พบว่า วิธีการใส่ปุ๋ย
                   ชีวภาพ พด.12  อัตรา 5  กิโลกรัมต่อต้นร่วมกับรดน้ าหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2  อัตรา 1.6  ลิตรต่อต้น

                   เป็นวิธีการที่ดีที่สุดต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพกล้วยหอมทอง
                   อินทรีย์ส่งออก และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับการปลูกกล้วยหอมทองโดยใช้ปุ๋ยเคมี

                   2.10 การจัดการดิน

                            การจัดการดินเป็นการท าให้ดินเหมาะสมกับพืชทั้งก่อนและหรือหลังปลูก การจัดการอาจเป็น
                   การเตรียมการก่อนปลูกหรือหลังปลูกก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก การปลูกพืชล้มลุกหรือพืชอายุสั้น
                   ควรใช้วิธีการเตรียมการก่อนปลูก ส่วนการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นอาจใช้การเตรียมการก่อนปลูกหรือการ

                   จัดการหลังปลูกก็ได้ แต่ดีที่สุดคือควรมีการจัดการทั้งก่อนและหลังปลูกตามความเหมาะสม  (นันทรัตน์,
                   2558)
                            2.9.1 ดินปัญหาที่พบในพื้นที่จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2552)
                                 1)  ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรด  จะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง  ต่ ากว่า  7  แต่อย่างไรก็ตาม
                   ระดับความเป็นกรดที่มีปัญหาต่อการเพาะปลูกพืช  และการเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมทางดินจะเกิด

                   อย่างรุนแรง เมื่อค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ ากว่า 5.5 ดังนั้น ในทางวิชาการปัญหาดินกรดจึงนิยาม
                   ว่าเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ ากว่า 5.5 ซึ่งจากข้อมูลพื้นที่ชุดดินที่มีโอกาสจะพัฒนาเป็นดินกรด
                   รุนแรง พบว่า มีพื้นที่สูงถึง 143,940,000 ไร่ และยังพบว่า มีดินที่มีแนวโน้มจะเป็นกรดรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

                   ตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                                    สภาพปัญหาของดินกรด มีความเป็นกรดสูงเกินไป ท าให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหาร
                   ที่ส าคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ฟอสฟอรัส และโมลิบดินัม นอกจากนี้ยังท าให้ประสิทธิภาพการใช้
                   ปุ๋ยเคมีต่ า ธาตุอาหารพืชถูกชะละลายออกไปจากดินได้ง่าย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม

                   สภาพที่เป็นกรดสูงยังท าให้ธาตุเหล็ก  อะลูมินัม  และแมงกานีส ละลายออกมาอยู่ในดินมากจนถึงระดับที่
                   เป็นพิษต่อพืชที่ปลูก และเกิดการระบายของเชื้อโรคพืช โดยเฉพาะเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
                                    การปรับปรุงดินกรด ใช้วัสดุปูนเพื่อลดความเป็นกรดของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน
                   ร่วมกับการใช้วัสดุปรับปรุงดิน  วัสดุปรับสภาพดิน  ปรับปรุงปริมาณธาตุอาหารพืชในดินให้พอเพียงและมี

                   ประสิทธิภาพ ใช้วัสดุคลุมดินเพื่อป้องกันการชะละลายและการกร่อนผิวหน้าดิน ร่วมกับระบบการปลูกพืช
                   หมุนเวียน  รวมถึงระบบอนุรักษ์ต่างๆ  ในพื้นที่ที่มีความลาดเท  ลดความเป็นกรดของดินใต้ชั้นไถพรวน
                   โดยใช้วัสดุปรับสภาพดิน เช่น ยิปซัม หรือฟอสโฟยิปซัม ที่มีคุณสมบัติในการละลาย และสามารถแทรกซึม
                   ลงไปในดินล่าง ลดความเป็นพิษของอะลูมินัมได้ดี

                                 2)  ดินบนพื้นที่ลาดชันสูง หรือพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน หมายถึง พื้นที่ที่มีความลาดชัน
                   มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ที่เมื่อน าไปใช้ประโยชน์ จะเกิดปัญหาการกร่อนหรือการชะล้างพังทลาย
                   ของดินสูง สภาพปัญหาของพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ถึงแม้โดยทั่วไปพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่มิสมควรท า

                   การเกษตร เพราะสามารถเกิดการกร่อนหรือชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย ประกอบกับพื้นที่เหล่านี้ส่วน
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55