Page 16 - ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหล่อยูง-คลองในหยง ของเกษตรกรตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         9







                       พระนครศรีอยุธยา พบว่า เกษตรกรที่มีการรับรู้แหล่งข่าวสารทางการเกษตรจากสื่อบุคคลและ
                       สื่อมวลชนมีความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรรมไม่แตกต่างกัน

                              วันชัย (2550)ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรที่ท้านาใน
                       จังหวัดชัยนาท พบว่า การเข้ารับการฝึกอบรม ประชุม หรือมีส่วนร่วมกิจกรรมเกษตรของเกษตรกรมี

                       ผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งสอดคล้องกับ สกุล(2551)ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ
                       เทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบชีวภาพ ในจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า การได้รับการอบรมหรือการศึกษาดู

                       งานด้านการผลิตข้าวชีวภาพ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบ

                       ชีวภาพในจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ วนิดา(2552)ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตและ
                       ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ในอ้าเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา พบว่า เกษตรกรที่เคยเข้า

                       ร่วมการฝึกอบรมและไม่เคยเข้าร่วมการฝึกอบรมจะมีการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ไม่แตกต่าง

                       กัน
                              4.3ปัจจัยด้านจิตวิทยา

                              ยุพินพรรณ และคณะ(2546) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดท้าแปลงขยายพันธุ์ข้าว
                       ของเกษตรกร อ้าเภอระโนด จังหวัดสงขลา พบว่า ทัศนคติที่มีต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชมีผลต่อ
                       การยอมรับการจัดท้าแปลงขยายพันธุ์ข้าว ซึ่งสอดคล้องกับภูวดล(2536) ศึกษาผลของการน้า

                       นวัตกรรมไปสู่ชุมชนบท : ศึกษากรณีการยอมรับการผสมเทียมโค พบว่า ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อ
                       เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มีผลต่อการยอมรับการผสมเทียมโค นอกจากนี้ชิตพล (2551)ได้ศึกษาการยอมรับ
                       การใช้ปุ๋ยชีวภาพในสวนยางพารา :กรณีศึกษา เกษตรกรในต้าบลท่าข้าม อ้าเภอหาดใหญ่ จังหวัด
                       สงขลา พบว่า เกษตรกรที่มีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ปุ๋ยชีวภาพในสวนยางพาราจะยอมรับการใช้ปุ๋ย

                       ชีวภาพได้มากกว่าเกษตรกรที่มีทัศนคติที่ไม่ดี และเกษตรกรที่มีทัศนคติที่ดีต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
                       การเกษตรจะมีการยอมรับการจัดเตรียมปุ๋ยชีวภาพไปปฏิบัติใช้ต่้ากว่าเกษตรกรที่มีทัศนคติที่ไม่ดี
                       เนื่องจากเกษตรกรที่มีความศรัทธาเชื่อถือต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรน้อย จึงมีความเต็มใจที่จะ
                       ยอมรับการจัดเตรียมปุ๋ยชีวภาพไปปฏิบัติด้วยตนเองมากกว่า
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21