Page 12 - ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหล่อยูง-คลองในหยง ของเกษตรกรตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         5







                       เกี่ยวข้องกับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม โดยพบว่า เพศ
                       หญิงยอมรับการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเพศชาย เกษตรกรที่มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
                       มากกว่ามีความถี่ในการรับฟังข่าวสารมากกว่า จะมีการยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าและ
                       มากกว่า และบุคคลที่อยู่ในวัยรุ่นจะมีการยอมรับเร็วที่สุดและช้าลงไปตามล้าดับเมื่ออายุมากขึ้น

                       เกษตรกรที่มีกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินจ้านวนมากกว่าการท้ากินในเนื้อที่ดินที่มากกว่า การมีรายได้มาก
                       กกว่า มีโอกาสได้รับสินเชื่อปริมาณมากกว่าและดอกเบี้ยถูกกว่า  การมีทรัพยากรที่จ้าเป็นในการผลิต
                       มากกว่าท้าให้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าและมากกว่าเกษตรกรที่มีน้อยกว่าพื้นฐานใน
                       การติดต่อสื่อสารของเกษตรกร ที่จ้าเป็นอย่างยิ่ง คือ ประสิทธิภาพในการรับฟังข่าวสารได้แก่ การอ่าน

                       การฟัง รวมทั้งความคิดเห็นที่มีเหตุผล ซึ่งจะสร้างความเข้าใจระหว่างเพื่อนบ้านด้วยกันเอง เป็นสิ่งที่
                       ช่วยให้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น  และพื้นฐานในเรื่องอื่น ๆ เกษตรกรมีแรงจูงใจใฝ่
                       สัมฤทธิ์ มีความพร้อมด้านจิตใจ มีทัศนคติที่ดีต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและต่อเทคโนโลยีที่น้ามาเพื่อการ
                       เปลี่ยนแปลง มีความสนใจในปัญหาความต้องการของตนเอง และกิจกรรมอาชีพของเพื่อนบ้าน จะมี

                       แนวโน้มที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าและรวดเร็วกว่าตามล้าดับ(ดิเรก, 2527)
                              ลักษณะนวัตกรรมที่บุคคลจะยอมรับหรือไม่ยอมรับนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะส้าคัญ5ประการ
                       ได้แก่ 1) ข้อดีของนวัตกรรมที่เทียบเคียงได้ (Relative advantage) หมายถึงการที่ผู้รับนวัตกรรมคิด

                       ว่านวัตกรรมที่รับเข้ามาใหม่นั้น อยู่ในระดับดีกว่าของเดิม2) ความเข้ากันได้ (Compatability)
                       หมายถึง การที่นวัตกรรมนั้นมีลักษณะที่เข้ากันได้หรือสามารถไปด้วยกันกับค่านิยม ประสบการณ์ที่
                       ผ่านมา และความต้องการของผู้ที่ยอมรับนวัตกรรมนั้น ๆ ความคิดใหม่หรือนวัตกรรมใดที่ไม่สามารถ
                       เข้ากันได้กับค่านิยมบรรทัดฐานของระบบสังคมนั้น ย่อมมีการยอมรับที่ช้ากว่านวัตกรรมที่เข้ากันได้ 3)
                       ความสลับซับซ้อน (Complexibility)  หมายถึง ลักษณะที่นวัตกรรมนั้นมีความซับซ้อนยากต่อความ

                       เข้าใจและน้าไปใช้ นวัตกรรมบางอย่าง ถ้ามีลักษณะที่ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก สมาชิกในสังคมสามารถที่จะ
                       เข้าใจได้ทันที นวัตกรรมลักษณะนี้ก็จะได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว4) ความสามารถในการน้าไป
                       ทดลองใช้ (Trialability)  หมายถึง การที่นวัตกรรมสามารถน้าไปทดลองใช้ในปริมาณจ้ากัดได้

                       นวัตกรรมใดสามารถแบ่งแยกเป็นส่วนต่าง ๆ เพื่อน้าไปทดลองใช้ในปริมาณจ้ากัดได้ นวัตกรรมนั้นจะ
                       ถูกยอมรับได้เร็วกว่า และ 5) ความสามารถในการสังเกตเห็น (Observability) หมายถึง การที่
                       นวัตกรรมแสดงผลออกมาในลักษณะที่สามารถมองเห็นได้ ยิ่งนวัตกรรมมีลักษณะที่เห็นผลได้ง่ายมาก
                       เท่าใด การยอมรับนวัตกรรมนั้นก็จะง่ายมากขึ้น(ก้องกษิต, 2542)
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17