Page 11 - ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหล่อยูง-คลองในหยง ของเกษตรกรตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         4







                                                           การตรวจเอกสาร


                              การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดท้าระบบอนุรักษ์ดินและน้้าบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน
                       เขตพัฒนาที่ดิน ลุ่มน้้าคลองหล่อยูง-คลองในหยง ของเกษตรกรต้าบลหล่อยูงอ้าเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัด
                       พังงา ผู้ศึกษาได้รวบรวมแนวคิด ทฤษฎี และผลงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาซึ่ง
                       สามารถจ้าแนกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้

                       1. การยอมรับ
                              นวัตกรรม หมายถึง ความคิด สิ่งปฏิบัติ หรือวัตถุที่แต่ละบุคคลรับรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่
                       ส้าหรับตนเมื่อน้านวัตกรรมไปเผยแพร่หรือกระจายจนเป็นที่ยอมรับแล้วก็จะกลายเป็นเทคโนโลยี

                       (ดิเรก, 2527) กระบวนการยอมรับ (innovation doption process) เป็นกระบวนการทางจิตใจของ
                       บุคคลซึ่งเริ่มต้นด้วยการเริ่มรู้หรือได้ยินเกี่ยวกับแนวความคิดใหม่ แล้วไปสิ้นสุดลงด้วยการตัดสินใจ
                       ยอมรับปฏิบัติ ขั้นตอนการยอมรับของบุคคลยังแบ่งออกได้อีกหลายขั้นตอนแต่ละขั้นตอนยังมีผลต่อ
                       การตัดสินใจยอมรับแนวคิดใหม่ที่ต่างกันออกไป และการที่บุคคลจะรับแนวคิดใหม่ไปปฏิบัติมีขั้นตอน

                       ดังนี้1)  ขั้นเริ่มรู้หรือรับรู้ (Awareness)เป็นขั้นเริ่มต้น โดยบุคคลเริ่มรู้เกี่ยวกับเรื่องใหม่หรือความคิด
                       ใหม่แต่ขาดรายละเอียดเพราะไม่เคยได้ยินหรือเคยเห็นมาก่อนท้าให้เกิดการรับรู้ขึ้นโดยบังเอิญด้วย
                       การพบเห็นด้วยตนเองหรือโดยการเผยแพร่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลหรือเอกชน2) ขั้นสู่ความสนใจ
                       (Interest) เป็นขั้นที่บุคคลเพียงแต่รับรู้ในแนวคิดใหม่ แต่ไม่สนใจหรือไม่ถูกกระตุ้นให้เกิดความสนใจ

                       หากไม่สนใจก็รู้สึกเฉยๆ แต่หากเกิดสนใจจะพยายามติดต่อผู้รู้หรือสอบถามผู้รู้ในรายละเอียดและ
                       ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวความคิดนั้น ๆ จุดส้าคัญของขั้นนี้ คือ จะไปหาความรู้เพิ่มเติมจากใครหรือ
                       แหล่งความรู้ใด หากได้รายละเอียดมาไม่ดีก็จะท้าให้เกิดความล้มเหลวในขั้นต่อไป3) ขั้นไตร่ตรอง
                       (Evaluation)เป็นขั้นที่บุคคลศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแนวความคิดใหม่แล้วคิดเปรียบเทียบดูกับงาน

                       ที่ท้าอยู่ในปัจจุบันว่าถ้าเอาแนวคิดใหม่มาปฏิบัติจะเกิดผลดีหรือไม่ดีอย่างไรในขณะนี้และอนาคต
                       ควรหรือไม่ที่จะทดลองดูก่อน ถ้าชั่งใจไตร่ตรองดูแล้วรู้สึกว่าผลดีมีมากกว่าผลเสีย ก็จะตัดสินใจ
                       ทดลองดูเพื่อให้เกิดความแน่ใจก่อนที่จะปฏิบัติจริง4) ขั้นลองท้า (Trial)เป็นขั้นที่บุคคลลองท้าตาม

                       แนวความคิดใหม่โดยท้าการทดลองเพียงเล็กน้อย เพื่อดูว่าจะเข้ากันหรือไม่กับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
                       ของตน และผลจะออกมาตามที่ตนคาดคิดไว้หรือไม่และ5) ขั้นน้าไปปฏิบัติ (Adoption)  หรือขั้น
                       ยอมรับ เป็นขั้นที่บุคคลตัดสินใจรับแนวคิดใหม่ไปปฏิบัติหลังจากที่ได้ทดลองปฏิบัติดูและทราบผลเป็น
                       ที่พอใจแล้ว(Rogers and Shoemaker, 1971)
                              การยอมรับนวัตกรรมทางการเกษตร มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ประกอบด้วย1)

                       ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขหรือสภาวการณ์โดยทั่วไป ได้แก่สภาพทางเศรษฐกิจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่
                       แตกต่างกัน เกษตรกรที่มีปัจจัยการผลิตมากกว่า ที่ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินมากกว่า มีรายได้มากกว่า
                       จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า และเร็วกว่าเกษตรกรที่มีปัจจัยการผลิตน้อยกว่าสภาพทาง

                       สังคมและวัฒนธรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการยอมรับเร็วหรือช้าเช่นบุคคลที่อยู่ในชุมชนหรือสังคมที่
                       รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเก่า ๆ อย่างเคร่งครัดมากกว่ามีลักษณะการแบ่งชนชั้นทางสังคมอย่าง
                       เด่นชัดกว่า จะมีผลท้าให้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ช้าลงและน้อยลงด้วย2)ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
                       โดยตรงได้แก่บุคคลเป้าหมายหรือผู้รับการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของเกษตรกรเองเป็นส่วนส้าคัญที่
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16