Page 30 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 30
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
3.6 การเสริมฮอร์โมน ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตล าไย
เกษตรกรในแปลงปลูกล าไยนิยมใช้แคลเซียมร่วมกับโบรอนเพื่อช่วยในการผสมเกสร ลดการ
หลุดร่วงของดอกและผล เพื่อลดต้นทุนการผลิตจึงพยายามพัฒนาสูตรน้ าหมักชีวภาพที่ผลิตจากผักผลไม้
ที่มีธาตุแคลเซียมและโบรอนสูงเพื่อทดแทนการซื้อแคลเซียมโบรอนจากร้านค้า
ธาตุแคลเซียม เป็นธาตุอาหารรอง ธาตุแคลเซียมเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ ช่วยในการแบ่ง
เซลล์ สร้างเชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกัน ช่วยในการเคลื่อนย้ายโปรตีน ช่วยส่งเสริมการท างานของเอนไซม์
หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผลและเมล็ด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557) ในธรรมชาติสามารถพบได้ใน
เปลือกไข่ กระดูกสัตว์ ปลีกล้วย กระถิน กระเจี๊ยบ ผักกระเฉด มะระ
ธาตุโบรอน เป็นธาตุอาหารเสริมที่พืชต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็มีความส าคัญมาก ช่วยใน
กระบวนการสังเคราะห์แสง โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและลิกนิน ช่วยให้พืชดูดและใช้ประโยชน์ธาตุแคลเซียม
โพแทสเซียมและไนโตรเจนมากขึ้น ช่วยในการแบ่งเซลล์ในส่วนที่เป็นดอก ผลและราก เพิ่มคุณภาพและ
น้ าหนักของผล (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557) ในธรรมชาติสามารถพบได้ในฝรั่งสุก ผลไม้สุกสีเหลือง ผักบุ้ง
ต าลึง เสาวรส
ชัยสิทธิ์ และคณะ (2559) ได้ศึกษาผลของการใช้แคลเซียมร่วมกับโบรอนที่มีผลต่อความเข้มข้น
ของธาตุอาหารในใบและปริมาณผลผลิตในพลับพันธุ์ซิซูและพันธุ์ฟูยู พบว่า การฉีดพ่นสารละลาย
แคลเซียมร่วมกับโบรอน ในอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ า 20 ลิตร ในระยะก่อนดอกบาน 1 สัปดาห์ ระยะดอก
บาน และระยะหลังดอกบาน 1 สัปดาห์ มีผลท าให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทาง
สถิติ สอดคล้องกับ สายน้ าผึ้ง และคณะ (2562) ได้ศึกษาผลของแคลเซียมโบรอนและจิบเบอเรลลิคแอซิด
ต่อการพัฒนาคุณภาพผลผลิตพันธุ์ฟูยู พบว่า การพ่นสารละลายแคลเซียมโบรอนร่วมกับสารละลาย
จิบเบอเรลลิคแอซิด ในระยะก่อนดอกบาน 1 สัปดาห์ระยะดอกบาน และระยะหลงัดอกบาน 1 สัปดาห์
พลับมีน้ าหนักผลและความแน่นเนื้อผลมากกว่าชุดควบคุม
ส าราญ สะรุโณ และคณะ (2552) ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจ
พอเพียงของชุมชนต้นแบบจังหวัดพัทลุง พบว่า เทคโนโลยีผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มผลผลิต
และลดการใช้สารเคมีในการผลิตพริก มีการแคลเซียมโบรอนใช้แล้วได้ผลดี พริกออกดอกดี ลูกไม่ร่วง
ท าให้ผลผลิตดกและท าให้ขั้วเหนียว
อธิศพัฒน์ (2561) ศึกษาประโยชน์ต่างๆ จากต้นกล้วย และได้น าปลีกล้วยมาหมักท าน้ าจุลินทรีย์
ขั้วเหนียว โดยใช้หัวปลี 3 กิโลกรัม น้ าตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม น้ า 5 ลิตร หมักไว้ 21 วัน กรองน้ าหมัก
2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ า 20 ลิตร รดพืชท าให้ขั้วเหนียว
รักบ้านเกิด (2561) ได้กล่าวถึงน้ าหมักผลไม้ เร่งการเจริญเติบโต เร่งราก เร่งดอก เร่งผล ผลดก
ขั้วเหนียว ผิวเกลี้ยง โดยใช้ผลไม้สุก ประกอบด้วย กล้วยน้ าหว้าสุก มะละกอสุก สับปะรดสุก น้ าเปล่า
สะอาด น้ าตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะ ซีอิ้วหวานอีก 1/2 ช้อนโต๊ะ หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ หมัก 7
วัน เก็บไว้ในที่ร่วม กรองน้ าหมัก 4 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ า 20 ลิตร ฉีดใส่ต้นไม้ ทุกๆ 15 วัน ช่วยเร่ง