Page 33 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
4.2.2 การใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับสภาพดินกรด โดยการโรยรอบทรงพุ่มในช่วงเดือน
พฤษภาคม อัตราใช้ 350 กิโลกรัมต่อไร่
4.2.3 การใช้ปุ๋ยหมักปรับปรุงบ ารุงดินเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เพื่อช่วยให้ดินร่วนซุย การอุ้มน้ าของ
ดินดีขึ้น ช่วยให้การดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย และปลดปล่อย
ออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูปลูก โดยผลิตปุ๋ยหมักจากใบล าไย โรยรอบทรงพุ่ม ทุกเดือน
อัตราใช้ 20 กิโลกรัมต่อต้น
4.2.4 การใช้น้ าหมักชีวภาพที่ผลิตโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 ในการเร่งการออกดอก เพิ่มการ
ติดผล เพิ่มการแตกยอดใหม่ โดยใช้น้ าหมักชีวภาพสูตรผักผลไม้ เจือจาง 1:300 ราดลงดิน ต้นละ 20 ลิตร
ในช่วงบ ารุงต้น ทุกเดือน สูตรปลาและหอยเชอรี่ผสมแคลเซียมโบรอน เจือจาง 1:500 ผสมโบรอน
แคลเซียม 500 มิลลิลิตร ฉีดพ่นในช่วงดอกตูม ทุก 15 วัน และสูตรขั้วเหนียว เจือจาง 1:500 ฉีดพ่นในช่วง
เริ่มติดผล ทุก 15 วัน
4.2.5 การใช้สารไล่แมลงที่ผลิตจากสมุนไพรในการควบคุมแมลงร่วมกับเชื้อราพาซิโลมัยซิส ไลลา
ซินัส โดยการใช้สารไล่แมลงสมุนไพรที่ผลิตโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 7 เจือจาง 1:500 ฉีดพ่นในช่วง
เดือนตุลาคม และเดือนธันวาคม และขยายเชื้อราพาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส 1 ลิตร ผสมกับสารไล่แมลง
ซุปเปอร์ พด.7 เจือจาง 200 ลิตร ฉีดพ่นในตอนเช้าหรือเย็นช่วงล าไยแตกใบอ่อน ทุก 15 วัน
4.3 การจัดท าแปลงสาธิตการปรับปรุงบ ารุงดิน
4.3.1 การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน
เมื่อพิจารณาผลวิเคราะห์ดินเปรียบเทียบปี 2558 ซึ่งเป็นปีก่อนด าเนินการและ ปี 2559 ซึ่งเป็น
ปีหลังด าเนินการ (ตารางที่ 3) พบว่า
ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ในปี 2558 ดินมีสภาพเป็นกรดรุนแรงมาก มีค่าความเป็นกรด
เป็นด่าง 4.3 เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องยาวนาน ในปี 2559 หลังจากที่เกษตรกรมีการ
ส่งตัวอย่างดินมาตรวจวิเคราะห์ มีค าแนะน าให้ใช้ปูนตามค่าความต้องการปูนของดิน (lime reuirement)
ในอัตรา 916 กิโลกรัมต่อไร่ และมีการใช้ปูนโดโลไมท์ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในอัตรา
350 กิโลกรัมต่อไร่ ตามค าแนะน าของกรมพัฒนาที่ดิน หรืออัตรา 17.5 กิโลกรัมต่อต้น ท าให้ดินดีขึ้น
มีสภาพเป็นกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.8
ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM) ในปี 2558 ดินมีค่าอินทรียวัตถุร้อยละ 2.2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับ
ปานกลาง ในปี 2559 หลังจากที่เกษตรกรได้ใช้ใบล าไยในการผลิตปุ๋ยหมัก และน ามาใส่รอบทรงพุ่มล าไย
อยู่เป็นประจ า ท าให้ค่าอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (Available P) จากผลวิเคราะห์ดิน ในปี 2558 ปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมี 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ ามาก ในปี 2559 ปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้นเป็น 13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
ประโยชน์ในดินในระดับปานกลาง เนื่องจากเกษตรกรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินท าให้มีปริมาณธาตุอาหาร