Page 25 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        16





                   ในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนให้มี
                   ความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ในระดับ
                   ชุมชนอ าเภอละ 1 ศูนย์ รวม 882 ศูนย์ การคัดเลือกศูนย์เรียนรู้ใช้หลักการ Zoning  ซึ่งมีการจ าแนกพื้นที่
                   ที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม ร่วมกับความต้องการของ

                   เกษตรกร จึงมีประเด็นการเรียนรู้ทั้งจากการพัฒนาและการเปลี่ยนกิจกรรมตามหลักของ Zoning
                   เพื่อเป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ของเกษตรกรและประชาชนที่สนใจในด้านการเกษตรจากสถานที่จริง เรียนรู้
                   จากเกษตรกรต้นแบบที่ท าอาชีพการเกษตรและประสบความส าเร็จ สามารถลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตที่ได้
                   เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม การปรับปรุงบ ารุงดิน

                   พร้อมทั้งการน้อมน าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อน าไปสู่
                   กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                          การด าเนินงานของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ภายใต้หลักคิด
                   “เกษตรกรพัฒนาเกษตรกรด้วยกันเองจึงจะเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน”  ดังนั้น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม

                   ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรจึงเป็นศูนย์ของเกษตรกรและชุมชนในระดับอ าเภอ มีการด าเนินงานที่
                   ส าคัญคือ 1) การพัฒนาศักยภาพของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ให้พร้อมที่จะ
                   ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การให้บริการต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร

                   แก่เกษตรกรและชุมชน และ 3) การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของเกษตรกรตามแนว
                   ทางการพัฒนาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการและสถานการณ์ในพื้นที่ รวมถึงการประสาน
                   เชื่อมโยงภาครัฐ เอกชน และชุมชน ตามแนวทางประชารัฐ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2560)

                   3.3 ล าไย

                          ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร (2547)  ล าไยเป็นไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
                   Dimocarpus  longan  Lour.  เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มแผ่กว้าง มีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เมื่อ

                   เจริญเติบโตเต็มที่สูง 10-12  เมตร เปลือกล าต้น สีน้ าตาลหรือสีเทาปนน้ าตาล ใบล าไยเป็นใบรวม ที่มีใบ
                   ย่อยอยู่บนก้านใบร่วมกัน จ านวน 3-5  คู่ ใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปหอก ล าไยออกดอกที่ปลายยอด
                   ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว โดยเปลี่ยนจากตาใบเป็นตาดอก ผลล าไยเป็นผลเดี่ยว มีร่างค่อนข้างกลมหรือกลม

                   แป้น จากเริ่มติดผลจนเก็บเกี่ยวผลได้ใช้เวลาพัฒนาประมาณ 4-6 เดือนขึ้นกับพันธุ์และสภาพแวดล้อม
                          ในพื้นที่แปลงใหญ่ล าไย ต าบลพญาแก้ว อ าเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ปลูกล าไยพันธุ์ดอหรือ
                   อีดอก้านแข็งซึ่งมีเปลือกผลหนา เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดี ทนแล้งและทนน้ าได้ดีปานกลาง ทรงพุ่มกว้าง
                   พอสมควร ล าต้นแข็งแรง กิ่งไม่ฉีกหักง่าย เปลือกล าต้นสีน้ าตาลปนแดง เป็นล าไยพันธุ์เบาที่ออกดอกและ
                   เก็บเกี่ยวได้ก่อนพันธุ์อื่น กล่าวคือ ออกดอกธันวาคมและเก็บเกี่ยวได้ปลายมิถุนายนหรือกรกฎาคม

                   เนื่องจากเก็บเกี่ยวเร็วและจ าหน่ายได้ทั้งผลสดและแปรรูปเป็นล าไยกระป๋องและล าไยอบแห้ง ท าให้
                   จ าหน่ายได้ราคาดี ชาวสวนนิยมปลูกมากที่สุด รสหวานปานกลาง เมล็ดค่อนข้างใหญ่และแบนเล็กน้อย
                   ผลผลิตเฉลี่ยของเกษตรกร 793 กิโลกรัมต่อไร่ (16 ต้นต่อไร่) (กรมวิชาการเกษตร, 2547)
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30