Page 28 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
19
เป็นต้น น้ าหมักชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบต่างกัน จะมีประมาณฮอร์โมนพืช กรดฮิวมิก และปริมาณธาตุ
อาหารพืชต่างกัน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557)
ดังนั้นการใช้น้ าหมักชีวภาพ เกษตรกรควรศึกษาและเลือกวัสดุหมักให้สอดคล้องวัตถุประสงค์ใน
การใช้แต่ละช่วงการเจริญเติบโต การใช้น้ าหมักชีวภาพร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก จะช่วยเพิ่ม
ความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของพืชได้ดีขึ้น ซึ่งเกษตรกรสามารถ
เตรียมน้ าหมักชีวภาพได้ด้วยตนเอง ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิต
การใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ซึ่งประกอบด้วย จุลินทรีย์ ยีสต์ ผลิตแอลกอฮอล์ แบคทีเรียผลิต
กรดอะซิติก และแบคทีเรียผลิตกรดแลคติก ผลิตสารไล่แมลงซึ่งเป็นสารสกัดที่ได้จากการหมักพืช สมุนไพร
เช่น ใบยาสูบ ผลดีปลี รากหางไหล หัวกลอย พริก เมล็ดสะเดา เหง้าขมิ้น เป็นต้น โดยกิจกรรมของ
จุลินทรีย์ ใช้เพื่อป้องกันและก าจัดแมลงศัตรูพืชโดยเจือจางสารไล่แมลงศัตรูพืชต่อน้ าอัตรา 1:500 ฉีดพ่น
ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557)
3.5.3 การปรับปรุงดินในสวนไม้ผล
การที่ไม้ผลจะให้ผลผลิตสูงนั้นต้องใช้ธาตุอาหารสูง ดังนั้นเมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปก็จะ
สูญเสียธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบของผลผลิตออกไปด้วย จึงต้องมีการใส่ปุ๋ยเพื่อชดเชยการสูญเสียธาตุ
อาหารต่างๆ เหล่านั้น ทั้งนี้การใส่ปุ๋ยต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพดิน ถ้ามีการใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสม
เช่นใช้น้อยเกินไปสัดส่วนของธาตุอาหารไม่เหมาะสมก็จะได้ผลผลิตต่ า ผลผลิตมีคุณภาพลดลง ขายได้ถูก
ลง รายได้ลดลง แต่ถ้าใช้ปุ๋ยมากเกินไปไม่สามารถเพิ่มผลผลิตแต่ก็เพิ่มต้นทุนการผลิต อาจท าให้ก าไรที่ได้
ไม่คุ้มกับต้นทุนของปุ๋ยที่ใส่เพิ่ม การตัดสินใจใช้ปริมาณและชนิดปุ๋ยที่เหมาะสมต้องอาศัยการวิเคราะห์ดิน
ธาตุอาหารพืชทุกธาตุมีความจ าเป็นและส าคัญต่อพืชทัดเทียมกัน มิได้เป็นรองหรือท าหน้าที่เสริม
เหมือนชื่อที่เรียก เนื่องจากพืชขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไม่ได้ อย่างไรก็ตามการธาตุแต่ละตัวท าหน้าที่
เฉพาะเจาะจงไม่สามารถทดแทนกันได้ การเจริญเติบโตของพืชจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีธาตุอาหารพืชเป็นปัจจัย
ส าคัญ คือหลังจากที่รากพืชดูดธาตุอาหารเข้าไปแล้วก็จะเคลื่อนย้ายไปสู่ใบ เพื่อน าไปใช้ในกระบวนการ
สังเคราะห์แสง และอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์จะถูกน าไปใช้เพื่อการแตกกิ่งก้าน การเจริญเติบโตของ
ใบอ่อน การออกดอกและการพัฒนาของผล ส่วนบทบาทของธาตุอาหารต่อการออกดอกจะเกี่ยวข้องกับ
การสร้างอาหารสะสมเพื่อท าให้ต้นพืชสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอก โดยที่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
ท าให้พืชเจริญเติบโตทางกิ่งใบมากเกินไป พืชจะออกดอกช้า แต่ถ้าพืชขาดไนโตรเจนก็จะท าให้เจริญเติบโต
ไม่ดี ไม่มีอาหารเพียงพอที่จะสร้างดอกและผลได้ ส่วนฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง
เมล็ด ฟอสฟอรัสจะช่วยเร่งการออกดอกให้แก่พืชและบทบาทของธาตุอาหารกับคุณภาพผลธาตุอาหารที่มี
บทบาทส าคัญต่อคุณภาพของไม้ผลโดยที่ธาตุอาหารต่างๆ มีความส าคัญต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนา
ของไม้ผลแง่ต่างๆ กัน ไม้ผลที่ได้รับไนโตรเจนไม่เพียงพอจะท าให้ผลมีขนาดเล็ก และพัฒนาเป็นผลสุกที่
สมบูรณ์เร็วกว่าปกติ ถ้าได้รับไนโตรเจนมากเกินไปก็ท าให้ผลใหญ่ขึ้น สุกช้า รสชาติด้อยลง และมีการ
สะสมของลิกนินในผนังเซลล์ของเปลือกน้อย ท าให้เปลือกผลไม้บอบบาง เก็บได้ไม่นานเกิดอาการช้ าและ