Page 27 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        18





                          การปรับปรุงสีผิวล าไยให้สวยสีเหลืองทองที่ตลาดต้องการ มีแนวทางดังนี้ คือ ใช้เทคนิคการ
                   ตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ผลผลิตอยู่ในทรงพุ่มหรือช่อผลหลบเข้าทรงพุ่ม การห่อผลก่อนที่ผลล าไยจะแก่ประมาณ
                   1-2 เดือน และการป้องกันโรคและแมลงจากเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอยที่จะท าให้เกิดโรคราด า (กุณฑล, 2561)

                   3.5 การปรับปรุงบ ารุงดิน

                       3.5.1 การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                          เนื่องจากชุดดินวังสะพุงเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ความอุดมสมบูรณ์ในดินค่อนข้างต่ า

                   จึงจ าเป็นต้องเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ด้วยการใช้ปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน ร่วมกับ
                   ปุ๋ยเคมีชนิดและอัตราที่ตามค าแนะน าการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ค ารณ, 2556)
                       3.5.2 การใช้ผลิตภัณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน

                          ในแปลงล าไยได้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ ของกรมพัฒนาที่ดินมาใช้แก้ปัญหาเรื่องดินและจัดการดิน
                   ในแปลงที่มีปัญหาเรื่องดินมีสภาพเป็นกรด มี pH ต่ ากว่า 5.5 ซึ่งถือเป็นสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อความเป็น
                   ประโยชน์ของธาตุอาหารพืช ในแปลงไม้ผลควรใส่ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับให้ pH อยู่ในช่วง 5.5-7.5
                   (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557)

                          การผลิตปุ๋ยหมักด้วยสารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 จากใบล าไยเพื่อใช้เองในแปลง ปุ๋ยหมักมีบทบาทมาก
                   ในการช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของดินทั้งด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพของดิน การใช้ปุ๋ยหมักควบคู่กับ
                   ปุ๋ยเคมีจะช่วยแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน อันเนื่องมาจากการที่เกษตรกรปลูกพืชติดต่อกัน
                   เป็นระยะเวลานาน โดยขาดการจัดการดินที่ถูกต้องและเหมาะสม ปุ๋ยหมักที่ใส่ลงดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ

                   สูง ช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น สารประกอบฮิวมัสในปุ๋ยหมักช่วยดูดยึดธาตุอาหารพืชและมีผลให้
                   อนุภาคดินเกาะตัวกัน การระบายอากาศของดินเพิ่มขึ้น การใส่ปุ๋ยหมักท าให้ดินมีความสามารถในการ
                   อุ้มน้ าได้ดีขึ้นเพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกค่อนข้างสูง (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน,
                   2551)

                          อย่างไรก็ตามเกษตรกรสามารถเตรียมปุ๋ยหมักใช้เอง โดยการน าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
                   เช่น ใบล าไย เศษพืชแห้ง มาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยยูเรีย หรือน้ าหมักชีวภาพจากปลา และสารเร่ง
                   ซุปเปอร์ พด.1 น าส่วนประกอบต่างๆ มากองเป็นชั้นๆ และราดด้วยสารละลายสารเร่งให้ทั่วโดยแบ่งเป็น

                   ชั้นๆ ชั้นบนปิดทับด้วยเศษพืชเพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น กลับกองปุ๋ยหมัก 10 วันต่อครั้ง จนหมัก
                   เสร็จสมบูรณ์ สามารถน าไปใช้ได้ อัตราที่แนะน า คือ ไม้ผล ไม้ยืนต้น ใช้อัตรา 20 กิโลกรัมต่อหลุมปลูก
                   (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557)
                          การใช้น้ าหมักชีวภาพ ที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ เช่น ผัก ผลไม้
                   ปลา หอยเชอรี่ ในลักษณะสด เกิดการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ ดังนั้นเมื่อ

                   ผ่านกระบวนการหมักกับน้ าตาลแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีลักษณะเป็นของเหลวซึ่งมีแร่ธาตุอาหารต่างๆ
                   ฮอร์โมน วิตามิน และกรดอะมิโนออกมาจากเซลล์พืชและสัตว์ รวมถึงผลพลอยได้อีกหลายชนิด เช่น
                   น้ าตาล น้ าย่อย แอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์ กรดฮิวมิก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ า รวมทั้งเซลล์จุลินทรีย์
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32