Page 29 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        20





                   โรคเข้าท าลายได้ง่าย ส่วนการขาดธาตุฟอสฟอรัสท าให้ผลพัฒนาและสุกเร็วขึ้น ส่วนผลที่ขาดธาตุ
                   โพแทสเซียมท าให้ผลมีขนาดเล็ก สีผิวไม่สวย ท าให้ปริมาณกรดและปริมาณของแข็งที่ละลายได้ซึ่งส่วน
                   ใหญ่เป็นน้ าตาลลดลง เป็นเหตุให้ผลไม้มีรสชาติไม่ดี ขณะที่แคลเซียมและโบรอนมีความส าคัญต่อความ
                   แข็งแรงของเปลือกผล ช่วยในการแบ่งเซลล์ในส่วนที่เป็นดอก ผลและราก เพิ่มคุณภาพและน้ าหนักของผล

                          ในการจัดการธาตุอาหารพืชหรือการใส่ปุ๋ยนั้นท าได้โดยการใส่ปุ๋ยทางดิน พ่นปุ๋ยทางใบและให้ปุ๋ย
                   ผสมพร้อมกับการให้น้ า การใส่ปุ๋ยทางดิน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ การจัดการปุ๋ยในระยะหลังเก็บเกี่ยว
                   เนื่องจากปริมาณธาตุอาหารที่สะสมในผลผลิตไม้ผลทั้งหมดสูญเสียติดไปกับผลผลิต ดังนั้นหากไม่มีการใส่
                   ปุ๋ยก็จะท าให้ธาตุอาหารในดินหรือความอุดมสมบูรณ์ลดลงเรื่อยๆ โดยทั่วไปแล้ว หากมีการไว้ผลผลิตมาก

                   เกินไป จะท าให้ธาตุอาหารต่าง ๆ ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง และธาตุเสริม สูญเสียไปกับผลผลิตจนอาจจะเหลือ
                   ในใบไม่เพียงพอกับพืช ท าให้ต้นไม่สมบูรณ์หรือไม่พร้อมที่จะออกดอกในปีถัดไป ดังนั้นหลังการเก็บเกี่ยว
                   ควรมีการตัดแต่งกิ่ง หว่านโดโลไมท์ 5-10 กิโลกรัมต่อต้น ก่อนใส่ปุ๋ยประมาณ 20-30 วัน การใส่ปุ๋ยหมัก
                   เพื่อเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารต่างๆ ครบทุกธาตุ โดยใส่ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีที่มี

                   ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม การจัดการปุ๋ยในระยะก่อนออกดอกให้กวาดวัสดุคลุมดินออก
                   เพื่อส่งเสริมให้เกิดความแห้งแล้งและลดการดูดไนโตรเจน โดยในระยะนี้ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่ให้ไนโตรเจนมาก
                   เพราะจะท าให้ส่งเสริมการเจริญด้านกิ่งก้านและใบ ในระยะนี้โดยทั่วไปมักจะใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสและ

                   โพแทสเซียมสูง แล้วงดการให้น้ าประมาณ 20-30 วัน ในระหว่างนี้ จะมีฝนตกลงมาเป็นครั้งคราว ซึ่งเป็น
                   สิ่งที่มีการกระตุ้นให้มีการแทงช่อดอก ซึ่งเกิดพร้อมๆ กับการแทงยอดใหม่ หากไม่มีฝนก็ต้องให้น้ า และ
                   หลังจากไม้ผลแทงช่อดอกแล้วก็ต้องให้น้ าอย่างสม่ าเสมอ และคลุมดินเหมือนเดิม แต่การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส
                   ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะท าให้ดินมีการสะสมฟอสฟอรัสสูงเพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จ าเป็น และยัง
                   ท าให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารอื่น เช่น สังกะสี ลดลงได้ การจัดการปุ๋ยในระยะหลังติดผล

                   หลังจากไม้ผลติดผลแล้ว ต้องได้รับน้ าและธาตุอาหารอย่างเพียงพอเพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์เพื่อที่จะสร้าง
                   อาหารให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาผลผลิต ในระยะธาตุนี้ธาตุอาหารโพแทสเซียม
                   มีบทบาทส าคัญต่อการเคลื่อนย้ายน้ าตาลที่ได้จากการสังเคราะห์แสงเพื่อไปใช้ที่ผล ดังนั้นจึงควรใส่ปุ๋ย

                   โพแทสเซียมสูง เพื่อเพิ่มขนาดผลและท าให้รสชาติดีขึ้น ส าหรับการพ่นปุ๋ยทางใบ การปลูกไม้ผลในปัจจุบัน
                   ในบางพื้นที่อาจมีความจ าเป็นต้องพ่นปุ๋ยจุลธาตุทางใบเพื่อแก้ไขหรือป้องกันการขาดแคลนธาตุบางชนิด
                   เช่น เหล็ก สังกะสี และทองแดง หรืออาจพ่นปุ๋ยยูเรียเพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อน หรือพ่นปุ๋ยที่มีธาตุ
                   แคลเซียมและโบรอนเพื่อส่งเสริมการติดผลและป้องกันผลร่วง ในการใช้ปุ๋ยเคมีทางใบนี้สิ่งที่ระมัดระวัง คือ

                   หากใช้ปุ๋ยมากเกินไปจะท าให้ใบไหม้ และอาจรุนแรงถึงขั้นใบและผลร่วงได้ ดังนั้นผู้ใช้จ าเป็นต้องเป็น
                   คนสังเกตและพิจารณาดูว่ามีความจ าเป็นหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการให้ปุ๋ยในระบบน้ า เป็นการให้ปุ๋ยระบบ
                   หนึ่งโดยผสมปุ๋ยที่สามารถละลายได้หมดลงไปในระบบน้ า เมื่อพืชดูดน้ าก็ดูดธาตุอาหารของพืชเข้าไป
                   พร้อม (จ าเป็นและจักรกฤษณ์, 2557)
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34