Page 24 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 24
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
15
บทที่ 3
การตรวจเอกสาร
3.1 ระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
กรมส่งเสริมการเกษตร (2559) ได้ให้ความหมายของการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ไว้ว่า เป็น
การส่งเสริมการเกษตรที่ยึดพื้นที่เป็นหลักในการด าเนินงานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเน้นให้เกษตรกร
รายย่อยมีการรวมกลุ่มและรวมพื้นที่การผลิตเป็นแปลงขนาดใหญ่ ที่มีผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการ
แปลง ตั้งแต่การวางแผนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกษตรกรมี
ความสามารถในการจัดการผลิตสินค้าเกษตรจนถึงการตลาดที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกับฟาร์มขนาดใหญ่
โดยมีวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยส่งเสริมให้
เกษตรกรรายย่อยมีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการการผลิตและการตลาด ร่วมกันได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับฟาร์มขนาดใหญ่ และเพื่อพัฒนากระบวนการท างานส่งเสริมการเกษตรให้
นักส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้จัดการพื้นที่ โดยการบูรณาการของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์ ศักยภาพของพื้นที่ และตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร ซึ่งในการส่งเสริมการเกษตร
แบบแปลงใหญ่ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้จัดการพื้นที่ คือ นักส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่
ท าหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน พื้นที่แปลงใหญ่ เป็นการรวมแปลงเล็กของ
เกษตรกร ให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ในการรวมกันผลิตสินค้าเกษตร โดยมีผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการ
แปลง กลุ่มเกษตรกร เป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรเจ้าของแปลง เพื่อให้มีการร่วมกันศึกษาวิเคราะห์และ
ก าหนดเป้าหมายการผลิตการตลาด จัดท าแผนปฏิบัติการ ร่วมกันก าหนดเทคโนโลยีที่ใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ
และด าเนินการตามแผน เป็นต้น และการบริหารจัดการแปลง โดยผู้จัดการพื้นที่จะต้องเป็นผู้บริหาร
จัดการแปลงทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน เช่น เชื่อมโยงการตลาด การจัดการปัจจัยการผลิต
เครื่องจักรกลและเทคโนโลยี การจัดการกระบวนการผลิตและการตลาด เป็นต้น เพื่อให้มีการด าเนิน
กิจกรรมตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ กมลรัตน์ (2561) ได้ศึกษาการเข้าไปส่งเสริมการเกษตรแบบ
แปลงใหญ่ในพื้นที่น าร่อง จ านวนทั้งสิ้น 600 แปลงทั่วประเทศ ในพืช 9 ชนิด พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วม
โครงการสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ประมาณ ร้อยละ 20 และเพิ่มผลผลิตได้ประมาณ ร้อยละ 20
เช่นกัน
3.2 ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
ในปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีนโยบายที่ต้องการให้มีศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรใน
ระดับชุมชนที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเกษตร ดูแลเกษตรกร และช่วยแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรต่างๆ
ในพื้นที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบายให้กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลัก