Page 49 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       40







                       ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลิตภาพของดินในการผลิตข้าว วิธีการหนึ่ง คือ การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ
                       ดินด้วยการปรับปรุงบ้ารุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด เช่น โสนอัฟริกัน ดังนั้น จึงได้ด้าเนินการจัดท้าแปลงสาธิต

                       การปลูกโสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ เพื่อเป็นการสาธิตให้เกษตรกรได้เห็นตัวอย่างการปรับปรุง
                       บ้ารุงดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่

                                   การด้าเนินงาน มีขั้นตอนคือ
                                   (1) คัดเลือกแปลงนาที่มีปัญหาดินเค็มในระดับน้อยถึงปานกลาง อยู่ใกล้เส้นทาง

                       คมนาคม เป็นแปลงสาธิต จ้านวน 10 ไร่

                                   (2) เก็บตัวอย่างดินน้าไปวิเคราะห์หาปริมาณอินทรียวัตถุ (%OM) ปริมาณไนโตรเจน
                       (N) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Avail.P) โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Avail.K) ค่าความเป็นกรดเป็น

                       ด่างของดิน (pH) และค่าการน้าไฟฟูาของดิน (EC)

                                   (3) การเตรียมดิน ไถกลบตอซังและฟางข้าว พร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์โสนอัฟริกันที่ผ่าน
                       การแช่ในน้้าเดือดนาน  2  นาที แล้วแช่น้้าเย็นเพื่อท้าลายระยะพักตัวของเมล็ดแล้ว หว่านลงในดิน

                       ในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วสับกลบหรือไถกลบเมื่อออกดอกเต็มที่

                                   (4) ปรับปรุงบ้ารุงดินในแปลงด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และแกลบดิบ
                                   (5) ปลูกข้าวพันธุ์ทนเค็มซึ่งเกษตรกรใช้ข้าวขาวดอกมะลิ 105  โดยวิธีปักด้าต้นกล้า

                       เมื่ออายุ 30-35 วัน ใช้ระยะปักด้า 20 x 20 เซนติเมตร จะท้าให้มีอัตรารอดตายสูงขึ้น
                                   (6) ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 3 ระยะ ระยะแรกใส่

                       หลังปักด้า 7-10 วัน ระยะที่สองใส่ระยะข้าวแตกกอ ระยะที่สามใส่ระยะข้าวตั้งท้อง ไม่ควรใส่ปุ๋ยรอง

                       พื้นเพราะปุ๋ยเคมีจะไปเพิ่มค่าการน้าไฟฟูาในดิน
                                   (7) ฉีดพ่นน้้าหมักชีวภาพจากสารเร่ง พด.2  อัตรา 20  ลิตรต่อไร่ แบ่งใส่ 4  ครั้ง คือ

                       ช่วงเตรียมดิน หลังปักด้าข้าว 30 50 และ 60 วัน
                                   (8) ดูแลรักษาแปลงสาธิตและเก็บเกี่ยวผลผลิต

                                   (9) เก็บตัวอย่างดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเพื่อเปรียบเทียบ

                                   ผลการด้าเนินงานและการติดตามผล พบว่า เมื่อใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสดในแปลง
                       นาสาธิตติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 ปี (เดือนตุลาคม 2558 - กุมภาพันธ์ 2560) มีผลท้าให้โครงสร้าง

                       ของดินดีขึ้น ดินร่วนซุยและโปร่งขึ้น และช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน การปักด้าข้าวในฤดูการผลิตที่ 2

                       ท้าได้ง่ายขึ้น และช่วยลดความเค็มของดินทางอ้อม เนื่องจากดินร่วนซุยท้าให้เกลือถูกชะลงในดินล่าง
                       ได้ง่ายขึ้น (ภาพที่ 15)

                                   จากผลการวิเคราะห์ดินในแปลงสาธิต (ตารางที่ 6) พบว่า ก่อนด้าเนินการจัดท้าแปลง

                       สาธิต ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่้ามาก  (0.13  เปอร์เซ็นต์) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
                       ประโยชน์อยู่ในระดับต่้ามาก (7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับ
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54