Page 44 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 44
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
35
ผลการด้าเนินงานและการติดตามผล พบว่า ไม้ผลทนเค็มและยูคาลิปตัสสามารถ
เจริญเติบโตในพื้นที่ดินเค็มได้ และยังสามารถปลูกร่วมกับกระถินออสเตรเลียได้ โดยมีเปอร์เซ็นต์
การรอดตายสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 10)
ภาพที่ 10 ปลูกไม้เศรษฐกิจ (ไม้ผล และยูคาลิปตัส) บนคันนา ในพื้นที่ดินเค็มปานกลางถึงดินเค็มน้อย
4) การปลูกยูคาลิปตัสบนพื้นที่ดอน/ที่สูง
ยูคาลิปตัส เป็นไม้โตเร็ว ทนแล้ง ไม่ต้องดูแลรักษามาก ไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับโรค
และแมลง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี มีประโยชน์ใช้ท้าเฟอร์นิเจอร์ และผลิต
เยื่อกระดาษ เป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาดี การปลูกยูคาลิปตัสบนพื้นที่สูง เพื่อช่วยดูดซับน้้าฝนไม่ให้
ชะเกลือไหลลงมาแพร่กระจายในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่ต่างๆ เป็นการปูองกันการแพร่กระจายพื้นที่ดิน
เค็มอีกทางหนึ่ง ยูคาลิปตัสที่น้ามาปลูกมีจ้านวนทั้งสิ้น 6,800 ต้น วิธีการปลูกจะปลูกเป็นแปลงตาม
พื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ ปลูกในพื้นที่ทิ้งร้างที่ไม่ได้ท้าการเกษตร และปลูกบนคันนาในพื้นที่
ดอน โดยขุดหลุมปลูกขนาด 50 x 50 เซนติเมตร ส่วนบนคันนาระยะห่างระหว่างต้น 1-2 เมตร ควร
รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกและแกลบดิบ
ผลการด้าเนินงานและการติดตามผล พบว่า ยูคาลิปตัสสามารถเจริญเติบโตได้ ช่วยดูด
ซับน้้าฝนที่ตกลงบนเนินในที่สูงหรือพื้นที่นาดอนไว้บางส่วน ไม่ให้น้้าส่วนเกินไหลมาเติมในพื้นที่ดินเค็ม
ตอนล่าง ช่วยลดคราบเกลือบนผิวดินในบริเวณใกล้เคียงได้ มีหญ้า และพืชชนิดอื่นๆ ขึ้นในบริเวณโคนต้น