Page 46 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 46
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
37
ของข้าว และช่วยรักษาความชื้นในดิน ลดการแพร่กระจายของเกลือใต้ดิน ขนาดของคันนาที่
เหมาะสมกับสภาพพื้นที่มีขนาดฐานคันดินบนกว้าง 1.5 เมตร ฐานคันดินล่างกว้าง 2.0 เมตร และ
คันดินสูง 0.5 เมตร การปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 ในพื้นที่ด้าเนินการคิดเป็นปริมาณงานรวม
จ้านวนทั้งสิ้น 300 กิโลเมตร แต่เมื่อมีการปรับรูปแปลงนาในพื้นที่แล้ว จะท้าให้เกิดการสูญเสียหน้า
ดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึงมีการจัดการดินในแปลงนาเพิ่มเติมด้วยการใช้พืชปุ๋ยสดปรับปรุง
บ้ารุงดิน การไถกลบตอซังข้าว การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก อัตรา 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับ
การใช้แกลบดิบ อัตรา 1 ตันต่อไร่ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินในแปลงนา ฟื้นฟูสภาพดินให้ดินมี
อินทรียวัตถุและรักษาความชื้นในดินได้มากขึ้น
ผลการด้าเนินงานและการติดตามผล พบว่า การปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 ช่วย
กักเก็บน้้าให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของข้าว และช่วยรักษาความชื้นของดินใน
แปลงนา ลดการไหลบ่าของน้้าและลดการชะล้างหน้าดินเค็มมาจากพื้นที่สูง เนื่องจากคันนามีขนาด
ใหญ่และสูงขึ้น ท้าให้ข้าวในที่ลุ่มสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้น
(ภาพที่ 12)
ภาพที่ 12 การปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 ในพื้นที่ดินเค็ม
ตารางที่ 5 กิจกรรมด้าเนินงานมาตรการวิธีกล ตามระดับความเค็ม
ปีงบประมาณ กิจกรรม หน่วย เปูาหมาย
เค็มจัด - ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 กิโลเมตร 50
เค็มปานกลาง - ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 กิโลเมตร 150
- พื้นที่กักเก็บน้้าของเกษตรกร บ่อ 12
เค็มน้อย - ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 กิโลเมตร 100
- ทางล้าเลียงในไร่นา กิโลเมตร 0.95
- ท่อระบายน้้า จุด 3
- พื้นที่กักเก็บน้้าของเกษตรกร บ่อ 5