Page 41 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       32







                       4.2 การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ด าเนินการ

                              4.2.1 การใช้มาตรการวิธีพืช ในการพัฒนาและปูองกันการแพร่ กระจายพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่

                       ด้าเนินการ
                              จากการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ได้ก้าหนดแผนการปฏิบัติงานโดยน้ามาตรการวิธีพืชมา

                       ด้าเนินการพัฒนาและปูองกันการแพร่กระจายดินเค็ม ประกอบด้วย พื้นที่ดินเค็มจัด ใช้วิธีการปลูกไม้

                       ยืนต้นทนเค็มพวกกระถินออสเตรเลีย พื้นที่ดินเค็มปานกลางถึงน้อย ใช้วิธีการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม
                       พวกกระถินออสเตรเลีย ปลูกไม้ผลทนเค็ม ปลูกไม้เศรษฐกิจบนคันนา ปลูกยูคาลิปตัสบนพื้นที่ดอน/ที่

                       สูง  ปลูกหญ้าแฝก และปลูกพืชปุ๋ยสดปรบปรุงบ้ารุงดิน (ปอเทือง)  โดยมีรายละเอียดกิจกรรม
                       ด้าเนินงาน ดังนี้ (ตารางที่ 4)

                                   1) การปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม (กระถินออสเตรเลีย)

                                   พื้นที่ด้าเนินการบริเวณที่เป็นดินเค็มจัดถึงปานกลาง น้าต้นกระถินออสเตรเลียหรือ
                       อะคาเซีย (Acacia) มาปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพทางนิเวศน์จากพื้นที่ที่มีคราบเกลือบนผิวดิน พืชไม่สามารถ

                       ขึ้นได้ ให้กลับคืนสภาพมาเป็นพื้นที่ที่มีพืชขึ้นปกคลุม ลดการสะสมเกลือบนผิวดิน ลดการระเหยของ
                       น้้าจากผิวดิน เพิ่มความชื้นให้ดิน ช่วยปรับปรุงบ้ารุงดิน โดยใบที่ร่วงหล่นทับถมจะย่อยสลายเป็น

                       อินทรียวัตถุเติมให้กับดิน ช่วยตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศให้แก่ดินเนื่องจากต้นกระถินออสเตรเลีย

                       เป็นพืชตระกูลถั่ว ท้าให้ดินมีสภาพที่ดีขึ้นได้ และช่วยเพิ่มความหลากหลายของชนิดพืชในพื้นที่ดินเค็ม
                       ได้เนื่องจากหลังการปลูกกระถินออสเตรเลียขึ้นแล้ว พืชพื้นเมืองอื่น ๆ จะขึ้นตามมาตามธรรมชาติ

                                   กระถินออสเตรเลียที่น้ามาปลูกในพื้นที่ มีจ้านวนทั้งสิ้น 112,000  ต้น โดยปลูกใน

                       บริเวณพื้นที่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ บนคันนา คันสระเก็บน้้า หัวไร่ปลายนา และบริเวณริมถนน
                       การปลูกจะขุดหลุมปลูกขนาด 30  x  30  เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 60  เซนติเมตร ใส่วัสดุ

                       ปรับปรุงดิน ปุ๋ยคอก และแกลบดิบ คลุกเคล้ากับดินก้นหลุมปลูกอย่างละ 1  ตันต่อไร่ เมื่อกลบหลุม

                       ปลูกแล้วใช้แกลบดิบคลุมเพื่อรักษาความชื้น และปูองกันเกลือขึ้นมาสะสมที่โคนต้น หลังจากปลูก
                       7 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่

                                   ผลการด้าเนินงานและการติดตามผล พบว่า เมื่อต้นกระถินออสเตรเลียมีอายุได้ 1  ปี
                       ในพื้นที่ปลูกมีพืชพื้นเมืองบางชนิดขึ้นแซมตามมา คราบเกลือบนผิวดินในพื้นที่ลดลง ช่วยรักษา

                       ความชื้นบนผิวดินท้าให้สามารถปลูกพืชอื่นๆ แซมได้ และเนื่องจากพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม บางช่วงเกิด

                       อุทกภัย มีน้้าท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้ไม้ผลทนเค็ม เช่น มะม่วง ฝรั่ง มะขาม มะขามเทศ ที่ปลูกใน
                       พื้นที่ตายลง แต่ต้นกระถินออสเตรเลียยังสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ (ภาพที่ 8)
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46