Page 35 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       26







                       8  เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้การปลูกพืชโดยไม่มีการพรวนดิน หรือไถพรวนดินให้น้อยที่สุดก็เป็นอีก
                       หลักการหนึ่งที่น้ามาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้้า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556)


                       3.7 การใช้ที่ดินและการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ า

                              การใช้ประโยชน์ที่ดิน หมายถึง การใช้ที่ดินตามความต้องการของมนุษย์ เช่น ใช้ใน

                       การเกษตร ใช้เป็นพื้นที่ปุาไม้ ใช้เป็นแหล่งน้้า ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ตั้งแหล่งอุตสาหกรรม เป็นต้น
                       (นิพนธ์, 2525)

                              การวางแผนการใช้ที่ดิน หมายถึง การแนะน้าแนวทางในการตัดสินใจที่จะใช้ที่ดิน ภายใต้

                       สภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้รับการอนุรักษ์ส้าหรับอนาคตไปพร้อมๆ
                       กัน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556)

                              มนู (2525)  กล่าวว่า การก้าหนดแผนการใช้ที่ดินจ้าเป็นต้องน้าหลักการ และวิธีการอนุรักษ์

                       ดินและน้้ามาพิจารณาศึกษาอย่างละเอียด เช่น การก้าหนดแผนการใช้ที่ดินตามสมรรถนะของดิน
                       วางระบบการใช้น้้าที่เหมาะสม วางระบบการปลูกพืชที่ไม่กระทบกระเทือนต่อการชะล้างพังทลายของ

                       ดิน การรักษาระดับหรือเพิ่มความสามารถในการให้ผลผลิตของดินเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก

                       ที่ดินได้ยาวนานตลอดไป
                              การวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้้าในบริเวณพื้นที่ที่ท้าการเกษตร ส้าหรับ

                       ประเทศไทยมีความจ้าเป็นอย่างยิ่งและการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร สมควรที่จะมีการศึกษา
                       ปัจจัยที่ควบคุมการผลิต เช่น ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะดินทั้งกายภาพและเคมี แหล่งน้้า การขนส่ง

                       สินค้า ตลาดและอื่น ๆ เพื่อจะได้ก้าหนดพื้นที่ว่าจะใช้ที่ดินที่มีอยู่อย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

                       และเหมาะสมกับสภาวะของตลาด (อภิสิทธิ์, 2522)  เมื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ควบคุมการวางแผนการใช้
                       ที่ดิน พบว่าประกอบด้วย ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของบริเวณที่จะมี

                       การวางแผนการใช้ที่ดิน เช่น ลักษณะดิน ลักษณะภูมิประเทศ เป็นต้น (เอิบ, 2525)
                              ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการใช้ที่ดิน ที่ส้าคัญมี 3  ประการ คือ ลักษณะดิน สภาพ

                       ภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศ มีรายละเอียดดังนี้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556)

                              1) ลักษณะของดิน ดินแต่ละแห่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เป็นผลมาจากสภาพการเกิดดิน
                       ซึ่งเป็นผลรวมของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ พืชพรรณ วัตถุต้นก้าเนิดดิน สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ

                       และเวลา ลักษณะของดินที่มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน ได้แก่ลักษณะเนื้อดินความยากง่ายใน

                       การเกิดการพังทลายของดิน และสภาพของสิ่งปกคลุม ความแตกต่างของดินจะมีผลต่อการ
                       เจริญเติบโตและชนิดของพืชที่ขึ้นบนดินนั้นแตกต่างกันไป

                              2) สภาพภูมิประเทศ หมายถึง ความสูงต่้าที่ไม่เท่ากันของสภาพพื้นผิวซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับ
                       ความสูงของพื้นที่บริเวณข้างเคียง ทิศทางและลักษณะความลาดเทของพื้นที่ และระดับน้้าใต้ดิน
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40