Page 38 - การพัฒนาและป้องกันการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำลำเสียวน้อยตอนบน - ห้วยกุดแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       29







                                                             บทที่ 4

                                                        ผลการด าเนินงาน


                       4.1 การวิเคราะห์พื้นที่ด าเนินการ


                              จากการศึกษาและวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ลักษณะดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และสภาพปัญหา

                       ของทรัพยากรดินในพื้นที่ด้าเนินการ สามารถสรุปได้ ดังนี้ (ภาพที่ 7)
                              4.1.1 พื้นที่ดินเค็มจัด เป็นบริเวณที่มีผลกระทบจากเกลือมาก มีคราบเกลือบนผิวดิน 10–50

                       เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ มีเนื้อที่ 124  ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.10  ของพื้นที่ ปลูกพืชไม่ค่อยได้ผล พื้นที่ส่วน
                       ใหญ่จึงถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า มีเพียงส่วนน้อยที่ใช้ปลูกข้าวแต่ให้ผลผลิตต่้ามาก พืชที่สามารถ

                       เจริญเติบโตได้มักเป็นไม้ทรงพุ่มมีหนาม เช่น หนามพุงดอ หนามพรม หนามแดง และพืชพวกสะแก

                       ตาล และต้นไม้ทนเค็มบางชนิด ในพื้นที่มีการผลิตเกลือสินเธาว์โดยขูดคราบเกลือบริเวณผิวหน้าดินมา
                       ละลายน้้าแล้วต้มเป็นเกลือ และขุดเจาะสูบน้้าเค็มขึ้นมาตากหรือต้ม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบ

                       ทอดต่อกันมา ท้าให้มีการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มมากขึ้น
                              แนวทางการจัดการพื้นที่ดินเค็มจัด ต้องใช้การอนุรักษ์ดินและน้้าทั้งวิธีกลและวิธีพืชเพื่อ

                       ควบคุมการแพร่กระจายดินเค็ม วิธีกลโดยการปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1  เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้มี

                       ความสม่้าเสมอ สร้างคันนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเก็บกักน้้าให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว
                       และช่วยรักษาความชื้นในดิน ลดการแพร่กระจายของเกลือใต้ดิน และปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม (กระถิน

                       ออสเตรเลีย) เพื่อลดการสะสมเกลือบนผิวดิน ลดการระเหยของน้้าจากผิวดิน เพิ่มความชื้นให้ดิน ช่วย

                       ปรับปรุงบ้ารุงดิน โดยใบของกระถินออสเตรเลียที่ร่วงหล่นทับถมจะย่อยสลายเป็นอินทรียวัตถุให้กับ
                       ดิน

                              4.1.2  พื้นที่ดินเค็มปานกลาง เป็นบริเวณที่มีผลกระทบจากเกลือปานกลาง มีคราบเกลือบน

                       ผิวดิน 1-10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ มีเนื้อที่ 2,649  ไร่ คิดเป็นร้อยละ 66.23 ของพื้นที่ โดยทั่วไปพื้น
                       ที่ดินเค็มปานกลางใช้ท้านาแต่ให้ผลผลิตต่้า ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า เนื่องจากใช้ในการเพาะปลูก

                       เป็นเวลานาน ไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้้า และปรับปรุงบ้ารุงดิน ท้าให้ดินเสื่อมโทรมลง การท้านาเป็น
                       การท้านาแบบอาศัยน้้าฝน การเพาะปลูกขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เสี่ยงกับภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถ

                       ควบคุมได้ ท้าให้บางปีผลผลิตข้าวเสียหาย ดังนั้น ในพื้นที่ควรมีการปรับปรุงบ้ารุงดิน โดยใช้ปุ๋ยหมัก

                       ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสด
                              แนวทางการจัดการพื้นที่ดินเค็มปานกลาง ต้องใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้้า โดยวิธีกล คือ

                       การปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 และก่อสร้างพื้นที่กักเก็บน้้า เพื่อกักเก็บน้้าและรักษาระดับน้้าใต้ดิน
                       ช่วยแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายดินเค็ม และแก้ไชปัญหาการขาดแคลนน้้าได้ วิธีพืช คือ การปลูกไม้

                       ยืนต้นทนเค็ม (กระถินออสเตรเลีย) ปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เช่น ปอเทือง ปลูกไม้ผล
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43